หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/98

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๑
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ค. จะฟ้องคู่สัญญาคนก่อน ๆ ก. ไม่ได้

แต่ ค. ฟ้อง ก. และ ข. ได้ เพราะ ก. เป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และ ข. เป็นผู้สลักหลังในภายหลัง ในการฟ้องนี้ ค. ย่อมฟ้อง ก. และ ข. ตามจำนวนเงินที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นนั้น เพราะการที่ ก. และ ข. สลักหลังตั๋วเงิน ย่อมเป็นอันสัญญาว่า จะมีผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ซึ่งหมายว่า ตามจำนวนเงินที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงซึ่งตนได้สลักหลังตั๋วไปนั้น

สำหรับผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ได้รับผลพิเศษดั่งที่บัญญัติไว้ในวรรค ๒ แห่งมาตรา ๑๐๐๗ ดั่งต่อไปนี้ "แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่า ผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดั่งว่า มิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้"

ฉะนั้น ตามอุทาหรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าการแก้ไขนั้นไม่อาจแลเห็นได้ง่าย และ ค. เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำโดยสุจริต เช่นนี้ ค. จะใช้สิทธิฟ้อง ก. และ ข. ตามความในวรรคแรกดั่งที่ได้อธิบายมาแล้วก็ได้ หรือจะฟ้องคู่สัญญาคนก่อน ๆ ก. ตามจำนวนเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไขตามวรรค ๒ นี้ก็ได้ แล้วแต่จะเลือก

ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันเกี่ยวกับการสลักหลังนั้น มีคดีอังกฤษเรื่องหนึ่ง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนั้นดั่งต่อไปนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงินฉะบับหนึ่งมีข้อความให้จ่ายเงินแก่บริษัทแห่งหนึ่งชื่อ 

ม.ธ.ก.