หน้า:ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล - ๒๔๖๕.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒

ในทรัพย์ได้ มีอำนาจที่จะจ่ายทรัพย์นั้นในการบำรุงความรุ่งเรืองแห่งนคร แลในการป้องกันสิทธิ์แลทรัพย์สมบัติของตน.

มาตรา ๔๐ คณะนคราภิบาลมีอำนาจที่จะออกใบกู้เงินในนามของคณะนคราภิบาลได้ เพื่อเปนทุนใช้จ่ายในการปกครองตามพระธรรมนูญนี้ แต่อำนาจที่จะกระทำตามที่ว่ามาในมาตรานี้ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลกลางเสียก่อนโดยเฉภาะเรื่องทุกคราวไป.

มาตรา ๔๑ เงินที่คณะนคราภิบาลเก็บได้จากราษฎรในทางภาษีอากรนั้น อนุญาตให้เก็บไว้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ได้ แต่ต้องมีบาญชีหลักฐานแสดงรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน.

มาตรา ๔๒ ให้มีคณะกรรมการ ๓ คนตรวจบาญชีในเวลาสิ้นปีทุกคราวไป กรรมการตรวจบาญชีนี้ รัฐบาลกลางเปนผู้ตั้ง ๒ นาย นคราภิบาลเปนผู้ตั้ง ๑ นาย กรรมการนี้มิได้รวมอยู่ในคณะนคราภิบาล.

หมวดที่ ๙
ว่าด้วยกำหนดโทษผู้ที่กระทำผิด

มาตรา ๔๓ ผู้ใดขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของนคราภิบาลเนื่องในระเบียบการปกครองเช่นว่ามาในมาตรา ๒๒ ก็ดี ตามมาตรา ๒๖ ก็ดี ท่านให้ลงโทษปรับเงินเปนพินัย คนหนึ่งครั้ง ๑ ไม่เกินกว่า ๑๐ บาท.

มาตรา ๔๔ ผู้ใดขัดขืนคำสั่งนคราภิบาลเนื่องในระเบียบการสุขาภิบาล เช่น ปล่อยบ้านเรือนให้ชำรุดรุงรัง แลเกิดการโสโครก