หน้า:ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล - ๒๔๖๕.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๕

ถ้าเงินธานิโยปการค้างอยู่แก่ผู้ใดถึง ๖ เดือนนับตั้งแต่วันกำหนดในประกาศของเจ้าพนักงานคลังเปนต้นไป, และผู้ที่ไม่เสียเงินนั้นมิได้อ้างเหตุผลแสดงให้เปนที่พอใจแก่เจ้าพนักงานว่า ขัดข้องจริง ๆ, ให้ถือว่า ผู้นั้นไม่จงใจจะเปนนาครแห่งดุสิตธานีอีกต่อไปแล้ว และนคราภิบาลจะได้ประกาศคัดนามผู้นั้นออกจากทะเบียนนาคร; ส่วนที่ดินและบ้านเรือนของผู้นั้น ก็ให้ริบเปนของกลางของคณนคราภิบาลดุสิตราชธานี.

มาตรา ๑๕. — ในกาเรก็บเงินธานิโยปการตามที่กล่าวมาแล้วในมาตรา ๑๔ ถ้ามีข้อทุ่มเถียงกันในระหว่างเจ้าพนักงานคลังกับนาครผู้ที่จะต้องเสียเงินธานิโยปการ และมิสามารถจะทำความตกลงกันได้ ก็ให้นาครทำเรื่องราวยื่นต่อสภาเลขาธิการ, เพื่อนำเสนอนคราภิบาล, และนคราภิบาลจะได้วินิจฉัยคดีนั้น ๆ ในท่ามกลางสภาเชษฐบุรุษ. คำวินิจฉัยแห่งสภานั้น ให้นับว่า เปนที่สุดแห่งคดี.

หมวดที่ ๗
ว่าด้วยการยกเว้น.

มาตรา ๑๖. — เขตพระราชฐาน, เขตที่ทำการของรัฐบาล, ที่วัด และที่ธรณีสงฆ์, โรงเรียนสาธารณศึกษา และโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือของคณนคราภิบาล; ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินธานิโยปการทั้ง ๓ ประเภท.

  • ประกาศมาณวันที่ ๑๔ กันยายน, พระพุทธศักราช ๒๔๖๕
  • (ลงนาม) พระยาอุดมราชภักดี
  • นคราภิบาลดุสิตราชธานี.