หน้า:ปทานุกรม - ศธ - ๒๔๗๐.pdf/923

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ไอราวัณ
ฮินดู
๙๐๔

ช้างสามหัว

ไอราวัณ ดู เอราวัณ.

ไอศกรีม [-สฺกรีม] อ. น. ของหวานอย่างหนึ่งทำโดยใช้แช่น้ำแข็ง.

ไอศวรรย์ [-สฺหฺวัน] ส. น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, ความเป็นใหญ่, ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน; อำนาจ; ราชอาณาจักร; อำนาจยิ่งของมนุษย์; ใช้แผลงเป็น ไอศุริย หรือ ไอศูรย์ ก็มี.

ไอศุริย ดู ไอศวรรย์. ไอศุริยสมบัติ น. สมบัติแผ่นดิน.

ไอศูรย์ ดู ไอศวรรย์.

 พยัญชนะตัวที่สี่สิบสี่ คือ ตัวที่สุดของพยัญชนะไทย, เป็นพวกอักษรต่ำ เป็นตัวที่สิบเอ็ดของวรรคที่หก อ่านว่า 'ฮอ', เป็นได้แต่พยัญชนะต้น อ่านออกเสียงเป็น 'กัณฐชะ' เสียงเกิดแต่คอ.

ฮด ก. รด, รดน้ำให้, ตั้งให้.

ฮวง จ. น. ลม.

ฮวน ข. น. คนที่ไม่ใช่จีน.

ฮ้วน จ. ก. รบกัน.

ฮวย จ. น. ดอกไม้.

ฮ่อ น. จีนพวกหนึ่ง เป็นคนป่า อยู่ทางเหนือของประเทศสยาม.

ฮ้อ จ. ว. ดี.

ฮอด ก. รอด, พ้น, ถึง.

ฮะ! อ. เสียงเตือนให้ลงมือพร้อมกัน. ฮะไฮ้, –ฮ้าย! อ. เป็นคำออกเสียงแสดงความเยาะเย้ย.

ฮัก ๆ ว. อาการหอบถี่ ๆ เรียกว่า หอบฮัก ๆ.

ฮั่น อ. น. เรียกคนพวกหนึ่งที่ท่องเที่ยวอยู่ตอนกลางของทวีปอาเซียซึ่งถือกันว่าดุร้าย.

ฮา! อ. เสียงหัวเราะแห่งคนมาก ๆ เมื่อเห็นขบขันหรือแสดงความยินดี; เป็นเสียงบอกให้รู้ตัว ดังใช้ในโคลงว่า พ่อฮา, พี่ฮา เป็นต้น. ฮาป่า น. การแกล้งหัวเราะในที่ไม่ควรหัวเราะแห่งคนหมู่มากเพื่อเยาะเย้ย.

ฮ้า ว. เสียงร้องห้าม. ฮ้าไฮ้! อ. เสียงลูกคู่ร้องรับ.

ฮินดู น. พวกอริยกะในทิศเหนือของประเทศอินเดียผู้นับถือลัทธิพราหมณ์; แขกอินเดีย ดู อินเดีย ด้วย.