หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ตามที่กล่าวข้างต้นถึงหลักที่จะพิจารณาว่า บุคคลมีส่วนได้เสียเป็นเงินทองในชีวิตของผู้อื่นหรือไม่นั้น ควรสังเกตว่า ถ้าการตายของบุคคลใดเพียงแต่ทำให้เราคาดหมายล่วงหน้าว่า จะเกิดความรับผิดชอบในทางศีลธรรมที่จะต้องจ่ายเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่ง หรอเพียงแต่ทำให้เราคาดหมายล่วงหน้าว่า เราจะเสียประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเราไม่มีสิทธิตามกฎหมายจะเรียกร้องเอาประโยชน์นั้นได้ เพียงเท่านี้กฎหมายหาถือว่าเรามีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลนั้นไม่ เช่น การที่บุตร์มีหน้าที่ตามศีลธรรมที่จะต้องใช้ค่าปลงศพมารดาเลี้ยง ยังหาพอที่จะถือว่า มีส่วนได้เสียในชีวิตของมารดาเลี้ยงไม่ ในคดีเรื่องหนึ่ง ก. เป็นผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่ง ก. ทดรองเงินให้แก่ ข. ซึ่งเป็นคนใช้ไป ๕๐๐๐ ปอนด์ ก. สัญญาว่า ในระหว่างที่ ก. มีชีวิตอยู่ ก. จะไม่เรียกร้องเอาเงินจำนวนนี้ ข. จึงไปทำสัญญาประกันชีวิต ก. ไว้ ศาลอังกฤษตัดสินว่า แม้จะมีสัญญาของ ก. เช่นว่านี้ก็ดี ก็ยังเรียกไม่ได้ว่า ข. มีส่วนได้เสียในชีวิตของ ก.

ส่วนได้เสียอันเป็นเหตุส่วนตัว

ส่วนได้เสียในชีวิตของคนเอง:- บุคคลทั้งหลายย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตของตนเอง เพราะฉะนั้น การที่มีส่วนได้เสียอันเป็นเหตุส่วนตัวเช่นนี้ บุคคลจะไปทำสัญญาประกันชีวิตตนเองไว้เป็นจำนวนเงินมากน้อยเท่าไรก็ย่อมทำได้ อนึ่ง ในการประกันชีวิตตนเองเพื่อประโยชน์ของตนเองนั้น บุคคลจะเข้าทำสัญญากับบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทก็ได้ 

ม.ธ.ก.