หน้า:ประชาไท (๒๕๔๙-๐๙-๑๙).pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ฉบับที่ 1

โดยที่ปรากฏว่า มีกลุ่มบุคคลที่จะก่อการปฏิวัติรัฐประหาร มีการสั่งเคลื่อนย้ายกำลัง เพื่อโค่นล้มยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 11 วรรค 1 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 44 มาตรา 48 มาตรา 50 และมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร

3/11