หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/25

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖

การนั้นให้ว่าความ ควรว่า ตระลาการนั้นเปนอย่างนี้ ๆ รังเกียจอยู่ ขอให้ตั้งตระลาการอื่นว่า ก็ถ้ามิฟัง ขืนให้ว่า จะมาร้องต่อในหลวงก็ได้ แต่เหตุหลัง ๒ เหตุนั้นจะเปนประมาณหนักไม่ได้ เพราะคนที่ต้องถอดออกจากราชการนั้น ๆ ต้องถอดด้วยประพฤติที่มิชอบในการว่าความก็มี ต้องถอดเพราะไม่ชอบกับผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่นั้นกรมนั้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะไม่เปนที่รังเกียจแก่การว่าถ้อยความก็มี เพราะเวลาหนึ่งป่วยไข้มีธุระทำวนเกียจคร้านไปไม่ได้ราชการ ท่านผู้หลักผู้ใหญ่หาผู้อื่นมาเปน ถอดเสียก็มี เพราะระแวงราชการอย่างอื่นซึ่งไม่ควรจะเปนเหตุให้รังเกียจในการพิพากษาความ เปนแต่การพลั้งพลาดก็มี ถ้าเปนผู้ร้ายฉ้อฉกพระราชทรัพย์แลอื่น ๆ ควรจะรังเกียจอยู่แล้ว * * * เพราะฉนั้น จะเอาเหตุ ๒ เหตุข้างหลังมาเปนหลักความที่จะคัดค้านผู้เปนตระลาการนั้นก็ไม่ได้เปนแน่แท้ แต่เดี๋ยวนี้ ผู้ร้องฎีกาตื่นนัก พอใจชี้ว่า ตระลาการขุนศาลเสมียนคนนั้น ๆ เปนคนนอกราชการเก่าเอามาตั้ง * * * เอามาวางในเรื่องราวเนือง ๆ ไป เพราะฉนั้น ประกาศไว้ว่า หมู่ใดกรมใดจะเอาคนนอกราชการต้องถอดก่อนเก่ามาตั้งเปนขุนโรงขุนศาลตระลาการว่าความ ก็ให้ผู้จะตั้งเรียงความตามกำเนิดของคนนั้นโดยสัจจริงว่า คนนั้นเปนคนนอกราชการในกรมนั้น ๆ ด้วยเหตุใด ๆ เอาการที่จริงมายื่นไว้ในกรมอาลักษณ์แห่งหนึ่งเปนสำคัญ มายื่นไว้ที่จางวางมหาดเล็กแห่งหนึ่งเปนพยาน จะได้สืบสวนดูว่าจริงฤๅไม่จริง ถ้าเห็นว่าไม่จริง จะได้ห้ามเสียไม่ให้ตั้ง ถ้าเห็นว่าไม่จริง คือ ซึ่งผู้นั้นต้องถอดไม่เปนเพราะการที่ไม่เที่ยงธรรมในโรงศาลการพิพากษาความ ก็จะได้ยอม