หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๓๖) - ๒๔๗๗.pdf/335

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๑๓

มาตรา๖๘ผู้จัดการนั้นมีอำนาจเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจทั่วไป และเมื่อได้รับอนุญาตของศาลก่อนแล้ว ผู้จัดการก็อาจจะทำการอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นได้

มาตรา๖๙ถ้าผู้ไม่อยู่ได้แต่งตั้งตัวแทนมอบอำนาจฉะเพาะการอันใดไว้ ผู้จัดการหาอาจจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการที่เป็นอำนาจฉะเพาะการเช่นนั้นได้ไม่ แต่ถ้ามาพิจารณาเห็นปรากฎว่า การที่ตัวแทนจัดทำอยู่นั้นเกลือกจะเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ไซร้ ก็อาจร้องขอให้ศาลถอดตัวแทนนั้นเสียได้

มาตรา๗๐ศาลจะสั่งเองในขณะใด ๆ หรือจะมีคำสั่งเมื่อพนักงานอัยยการหรือผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนได้เสียร้องขอขึ้นในการเหล่านี้ ก็สั่งได้ คือ

(๑)ให้ผู้จัดการหาประกันให้ไว้ เพื่อการที่จัดทำและเพื่อส่งคืนทรัพย์สินที่มอบไว้

(๒)ให้ผู้จัดการแจ้งรายงานให้ทราบว่า ทรัพย์สินที่ว่ามาแล้วนั้นเป็นอยู่อย่างไร ๆ

(๓)ถอดถอนผู้จัดการออกเสียโดยมีเหตุอันสมควร และตั้งแต่งผู้อื่นให้จัดการแทนผู้นั้นต่อไป

มาตรา๗๑ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้จัดการได้รับสินจ้างคิดจ่ายจากทรัพย์ของผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้

มาตรา๗๒อำนาจผู้จัดการนั้นย่อมสุดสิ้นลงในกรณีย์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ


ประมวลฯ นี้ยกเลิกแล้ว (ดูฟุตโน้ตหน้า ๒๙๗)

๔๐