หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๕) - ๒๔๖๒.pdf/55

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๔

วรนารถสัมพันพงษ์ (พิมพ์) ผู้ว่าราชการเมืองปเหลียนเปนพระทิพกำแพงสงครามปลัด

ครั้นปีจอ นพศก พ.ศ. ๒๔๓๐ (จ.ศ. ๑๒๔๙) พระยาพัทลุง (น้อย) เห็นว่า คลองจงเกตอนใต้ตื้นเขินขึ้นเปนตอน ๆ น้ำเดินไม่สดวก บ่าเข้าบ้านเข้านา กลายเปนที่ลุ่มน้ำท่วมอยู่ตลอดปี ไม่แห้งเลย ที่นาก็ทำไม่ได้ รกร้างมาช้านานแล้ว จึงจัดให้หลวงเดชสงคราม (หนูเอียด เดชณพันธ์) นายตำบล (หรือหัวเมือง) ที่วัดเปนนายงานจัดการระดมคนที่คชที่วัดขุดคลองจงเกตอนเหนือแต่วัดตะโหนด ขุดลัดมาลงคลองบางแก้วซึ่งเปนคลองตายอยู่นั้นยาวประมาณ ๒๐๐ เส้น ปากบนกว้าง ๖ ศอก ลึก ๔ ศอก คลองจงเกจึงเรียกว่าคลองบางแก้วแต่นั้นมา ทุ่งนาแลบ้านแถบคลองจงเกก็ดอนขึ้น ได้ทำนาเจริญมาเปนลำดับจนทุกวันนี้ พระยาพัทลุง (น้อย) ว่าราชการอยู่ ๑๙ ปี ถึงปีชวด สำฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ (จ.ศ. ๑๒๕๐) มีความชราทุพลภาพลง จักษุมืดมัวแลไม่เห็นทั้ง ๒ ข้าง จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร ให้เปนพระยาวรวุฒิไวยวัทลุงควิไสยอิศรศักดิพิทักษ์ราชกิจนริศศรราชภักดีพิริยพาหะจางวางกำกับราชการ โปรดให้หลวงจักรานุชิต (เนตร) บุตรชายใหญ่เปนพระยาอภัยบริรักษ์จักรวิชิตพิพิธภักดีพิริยพาหะผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง พระราชทานถาดหมากคนโททองคำเปนเกียรติยศ ครั้นปีฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ