หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๒๔) - ๒๔๖๕.pdf/35

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๔

จะฆ่าฟันเสีย ก็ไม่ออกมา กองทัพไทยต้องล้อมอยู่ ๒ เดือน ผู้คนเกิดป่วยเจ็บด้วยขัดสนเสบียงอาหารส่งไปไม่ทัน พระยาราชวรานุกูลก็ต้องเลิกทัพกลับมาทางเมืองหนองคาย เปนสิ้นเรื่องปราบฮ่อครั้งที่ ๒ เพียงนี้. ตอนที่ ๕ ว่าด้วยปราบฮ่อครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ การปราบฮ่อครั้งที่ ๓ เปนเรื่องเนื่องมาแต่การปราบฮ่อครั้งที่ ๒ คือเมื่อได้ข่าวมาถึงกรุงเทพฯ ว่า พระยาราชวรานุกูลแม่ทัพไปถูก อาวุธข้าศึก กองทัพไทยได้แต่ตั้งล้อมค่ายฮ่ออยู่ที่ทุ่งเชียงคำ แลใน ขณะนั้นได้รับใบบอกเมืองหลวงพระบาง ว่ามีทัพฮ่อยกมาย่ำยีเมืองหัวพันห้าทั้งหกอิก ที่ในกรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าจะเปนฮ่อพวกเดียว กับที่ทุ่งเชียงคำฤๅต่างพวกกัน ทรงพระราชดำริห์ว่ากองทัพพระยา ราชวรานุกูลคงทำการไม่สำเร็จ ด้วยเปนแต่เกณฑ์พลเรือนไปรบ ตามแบบโบราณ ในเวลานั้นกรมทหารที่ได้ฝึกหัดจัดขึ้นใหม่ตามวิธี ยุโรปก็มีหลายกรม ควรจะใช้ทหารปราบปรามฮ่อให้คุ้นเคยการศึก เสียบ้าง จึงโปรดฯ ให้จัดทหารบกในกรุงเทพฯ เข้าเปนกองทัพ ๒ ทัพ ให้นายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง เปนแม่ทัพ (ตวันออก) ยกไปปราบฮ่อ ในแขวงเมืองพวนทัพ ๑ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) ๑ ผู้บังคับการกรมทหารน่า (ราบที่ ๔) เปนแม่ทัพ (ตวันตก) ๑ คือเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี