หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔
พระยอดมีพิษขึ้นที่พระสอ พระอาการกลับซุดลงไปอิกจนถึงประชวรเพียบหนักอยู่เป็นหลายเวลา พระอาการจึงค่อยคลายขึ้น แต่พระกำลังยังอ่อนเพลียมากนัก จึงต้องปกปิดมิให้ทรงทราบพระอาการของสมเด็จพระบรมชนกนาถตลอดมาจนพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต.
ตั้งแต่พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร พระอาการซุดลงโดยลำดับ[1] ครั้นถึงวันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ เป็น
- ↑ จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร มีอยู่ ๒ ฉะบับ เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ข้าหลวงเดิม เวลานั้นเป็นพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก อยู่ในผู้หนึ่งซึ่งได้อยู่เฝ้ารักษาพยาบาลข้างที่ แต่งไว้ฉะบับ ๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศแต่งไว้ในตอนท้ายพระราชพงศาวดาร รัชชกาลที่ ๔ อิกฉะบับ ๑ ความที่เจ้าพระยาทิพากรวงศกล่าวนั้น เข้าใจว่า ท่านคงถามมาจากเจ้าพระยามหินทรฯ ด้วยตัวท่านเองเป็นเวลาอยู่นอกราชการ ไม่ได้เข้าวัง จดหมายเหตุทั้ง ๒ ฉะบับที่กล่าวมานี้ ความข้อสำคัญคลาดเคลื่อนกันอยู่บางแห่ง แต่อ้างถึงพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ เวลานั้นปรากฎพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี เป็นผู้อยู่ประจำรักษาพยาบาลข้างที่เป็นนิจพระองค์ ๑ ว่า เป็นผู้เชิญกระแสรับสั่งออกมาข้างหน้าในเวลาเมื่อทรงประชวรนั้นเนือง ๆ เวลาข้าพเจ้าแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉะบับนี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศก็ถึงพิราลัย เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงก็ถึงอสัญกรรมไปเสียแล้ว จะถามข้อสงสัยในจดหมายเหตุต่อท่านทั้ง ๒ นั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงกราบทูลถามกรมหลวงสมรรัตนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ในปีที่เริ่มแต่งหนังสือนี้ ได้ความตามที่กรมหลวงสมรรัตนฯ ตรัสเล่า ข้าพเจ้าเห็นแม่นยำได้ความชัดเจนสิ้นสงสัย สมควรจะจดไว้ให้ปรากฎ ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวเนื้อความในหนังสือนี้ตามที่ได้ทราบจากกรมหลวงสมรรัตนฯ เว้นไว้แต่แห่งใดที่ท่านไม่ทรงทราบ ข้าพเจ้าจึงกล่าวตามจดหมายเหตุของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง