ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๒) - ๒๔๙๗.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐

หลวงวงศาธิราชสนิท ๓ กรมหมื่นถาวรวรยศ ๔ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล ๕ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๖ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ๗ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ พระเจ้าราชวรวงศเธอ ๖ พระองค์[1] คือ ๑ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๒ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ๓ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ๔ กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ๕ กรมหมื่นอักษรสารโสภณ ๖ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ ๓ พระองค์ คือ ๑ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ๒ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ๓ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ นอกจากนี้ พระเจ้าลูกยาเธอที่เป็นชั้นใหญ่ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๗ พระองค์ คือ ๑ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร ๒ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ๓ พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ ๔ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ ๕ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ๖ พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ ๗ พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรรค์ เจ้านายทั้งปวงนี้ เวลาประชุม ประทับทางด้านตะวันตก แต่ตรงหน้าพระแท่นเศวตฉัตรเรียงไปข้างด้านเหนือ ข้างด้านเหนือพระสงฆ์นั่ง กรมหมื่นบวรรังษีฯ ประทับเป็นประธานอยู่ข้างหน้า ส่วนพระสงฆ์ที่มานั่งในที่ประชุมนั้น มีพระราชาคณะ ๒ รูป คือ พระสาสนโสภณ (สา) วัดราชประดิษฐ ๑ พระอมรโมลี (นพ) วัดบุบผาราม ๑ นอกนั้นเป็นถานานุกรมและ


  1. เมื่อในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้ใช้คำนำพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า พระเจ้าราชวรวงศเธอ พึ่งมาเปลี่ยนเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๓ และใช้คำนำพระนามเจ้านายวังหน้าว่า ราชวรวงศ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๖