ราชกิจ เป็นผู้อุปถัมภ์ในส่วนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินด้วย ที่ประชุมก็เห็นชอบพร้อมกัน เป็นเสร็จการประชุมเวลาราว ๗ ทุ่มเศษ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงให้อาลักษณจดคำปรึกษา แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ดังนี้[1]
"ศรีศยุภมัศดุ พระพุทธศักราชอดีตกาล ชมัยสหัสสังวัจฉร จตุสตาธฤก เอกาทศสังวัจฉัร ปัตยุบันกาล มังกรสังวัจฉร อัสยุชมาส ศุกรปักษ์ บรรณสิยดฤถี คุรุวาร บริเฉทกาลอุกฤษฐ เวลา ๔ ทุ่ม ทุติยบาท
กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระราชาคณะ พระวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อย ปรึกษาพร้อมกัน กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระสาสนโสภณ พระอมรโมลี พระราชาคณะคามวาสีและอรัญวาสี กับพระครู ถานานุกรม เปรียญ ทั้งปวง ข้างฝ่ายพุทธจักร และฝ่ายข้างพระราชอาณาจักร กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กรมหมื่นถาวรวรยศ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล กรมหมื่นอักษรสารโสภณ กรมหมื่นเจริญผลพูนสวัสดิ์ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ พระวงศานุวงศ์ผู้น้อยที่ยังไม่ได้รับกรม กับข้าทูล
- ↑ คำปรึกษานี้ได้มาแต่กรมราชเลขาธิการ และการที่เขียนคำปรึกษาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเช่นนี้ ทำตามเยี่ยงอย่างครั้งรัชชกาลที่ ๓ และรัชชกาลที่ ๔