หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๕) - ๒๔๗๓.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓

ดังนี้ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า เมื่อกรุงเสียแก่พะม่าข้าศึกในเวลาเมืองไทยกำลังยับเยิน และกำลังทำศึกสงครามกู้อิสสรภาพในครั้งกรุงธนบุรีและในรัชชกาลที่ ๑ ข้างฝ่ายฝรั่งก็ติดทำศึกสงครามครั้งพระเจ้านะโปเลียนที่ ๑ จึงไม่มีพ่อค้าฝรั่งไปมาค้าขาย แต่ฝ่ายข้างไทยเมื่อตั้งเป็นอิสสรภาพได้มั่นคงแล้ว แม้ในเวลาที่ยังต้องทำศึกสงครามกับพะม่าอยู่บ้าง ก็ได้เริ่มต้นลงมือทำการค้าขายกับเมืองต่างประเทศ หาผลประโยชน์เป็นกำลังบำรุงบ้านเมืองด้วยเหตุเหล่านี้ ตั้งแต่รัชชกาลที่ ๑ มา เรือที่ไปมาค้าขายกับต่างประเท โดยมากจึงเป็นเรือไทย เรือจีน และเรือแขก

ในเวลาเมื่อครอเฟิดเข้ามาเป็นเวลากำลังฤดูสำเภาเข้า ว่ามีเรือสำเภาจอดอยู่ในแม่น้ำประมาณ ๗๐ ลำ ขนาดตั้งแต่บรรทุกได้ ๑,๖๐๐ หาบขึ้นไปจนถึง ๑๕,๐๐๐ หาบ และสืบสวนได้ความว่าเป็นเรือหลวง ๒ ลำ[1] เป็นเรือของเจ้านายและข้าราชการไทยประมาณ ๒๐ ลำ นอกจากนั้นเป็นเรือของพ่อค้า ครอเฟิดได้สืบจำนวนเรือที่ไปค้าขายและจำนวนสินค้าลงไว้ในรายงานดังนี้ คือ

ไปค้าขายที่เมืองกึงตั๋งปีหนึ่ง ๘ ลำ สินค้ารวมหนักประมาณ ๘๗,๐๐๐ หาบ

ไปค้าขายเมืองไหหลำ เรือขนาดย่อม ๔๐ ลำ สินค้าหนักประมาณ ๑๑๒,๐๐๐ หาบ


  1. เรือหลวง ๒ ลำนี้ ครั้งรัชชกาลที่ ๑ ชื่อ เรือหูสง เรือทรงพระราชศาสน์ สำหรับไปค้าขายเมืองจีน แต่เมื่อครอเฟิดเข้ามา ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ที่ชื่อเรือมาลาพระนครลำ ๑ เรือเหราข้ามสมุทรลำ ๑