หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๕) - ๒๔๗๓.pdf/19

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖

เศรษฐีว่าจะทำผ้าซึ่งต้องการให้ครบจำนวนเงินนั้นมิทัน เศรษฐีสัญญาว่า ให้กำปั่นกลับออกไปรับเอาพรรณผ้าณมรสุม ปีเถาะ เอกศกนี้ ให้ครบ เศรษฐีจัดได้แต่ผ้าขาวสีชะนิดให้เข้ามาก่อน เป็นพรรณผ้าขาวสุกตำ ๖ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เป็นเงิน ๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ผ้าขาวฉนำ ๑๕ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง ๓ บาทสลึง ๕๓๓ เบี้ย เป็นเงิน ๑๙ ชั่ง ๗ ตำลึง ๘ สลึง ผ้าขาวโมริยชะนิดหนึ่ง ๑๐ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เป็นเงิน ๑๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ผ้าขาวโมริยชะนิดหนึ่ง ๘ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง ผ้า ๓๙ กุลี เป็นเงิน ๕๔ ชั่ง ๗ ตำลึง ๘ สลึง เสียค่าซัก ค่าบดค่าภาษีในซื้อผ้า ๕ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๕ สลึง คิดเป็นเงิน ๖๐ ชั่ง ๗ บาทสลึง ให้หลวงหน้าวังคุมเข้าไปส่งด้วยพระยานครฯ นั้น ได้ให้เจ้าพนักงานรับไว้ครบตามบอกแล้ว แต่เงินซึ่งยังค้างอยู่แก่เศรษฐีเจ้าทรัพย์เมืองเทศเป็นเงิน ๑๒๔ ชั่ง ๘ ตำลึง ๓ บาทสลึง ๗๑๕ เบี้ย เศรษฐีได้สัญญาไว้ว่า ให้กำปั่นกลับออกไปรับเอาพรรณผ้าณมรสุม ปีเถาะ เอกศก ให้ครบนั้น พระยานครฯ กรมการได้จัดแจงกำปั่นบรรทุกช้างบรรทุกดีบุกกลับออกไปจำหน่ายณเมืองเทศแต่ณเดือนสาม ปีขาล สัมฤทธิศกแล้ว ๆ ได้สั่งให้รับเอาผ้าซึ่งค้างอยู่แก่เศรษฐีให้ครบตามสัญญา ถ้าขุนอักษร นายศรีไหม กลับมาถึงเมืองนครเมื่อใด ได้พรรณผ้ามามากน้อยเท่าใด ก็ให้พระยานครฯ กรมการ บอกส่งรัดรายพรรณผ้าและหางว่าวเข้าไปให้แจ้ง

หนังสือมาณวันอังคาร เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก ฯ

ผู้อ่านจะเห็นได้ในท้องตรานี้ ที่เรียกว่าการค้าขายของหลวงนั้น ไม่ใช่เอาอำนาจราชการไปกะเกณฑ์เอาทรัพย์สมบัติของผู้หนึ่งผู้ใดมา ต้อง