เปนผู้ทำโดยรับสั่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๕
ที่๓พระโกษฐกุดั่น ๒ พระโกษฐ สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะแม จุลศักราช ๑๑๖๑ (พ.ศ. ๒๓๔๒) ทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี แลเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อทรงพระศพสมเด็จพระพี่นาง หุ้มทองคำทั้งสองพระโกษฐ ตามคำที่ว่ากันว่า พระโกษฐกุดั่นนั้นชำรุดหายไปเสียองค์หนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงค้นหาได้มาแต่ตัวพระโกษฐ จึงทรงทำฝาแลฐานใหม่ประกอบเข้า พระโกษฐองค์นี้เรียกว่า "กุดั่นใหญ่" ฝีมือทำซึ่งปรากฎอยู่ที่กาบพระโกษฐนั้นงามอย่างยิ่ง สมกับที่มีตำนานว่า เปนของทำในรัชกาลที่ ๑ อิกองค์หนึ่งเรียกว่า "กุดั่นน้อย" องค์นี้ที่ว่า ไม่ได้ชำรุดสูญหาย แต่ดูทำนองลายในกาบไม่ค่อยเทียมทันเสมอกันกับพระโกษฐกุดั่นใหญ่อันมีตำนานว่า ทำพร้อมกัน อาจจะเปนตัวแทนเสียแล้วก็ได้ พระโกษฐทั้งสององค์นี้เกียรติยศใช้ต่างกัน ทุกวันนี้ ถือว่า พระโกษฐกุดั่นใหญ่เกียรติยศสูงกว่าพระโกษฐกุดั่นน้อย แลพระโกษฐกุดั่นน้อยนี้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้ทรงสร้างเติมขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๕ อิกองค์ ๑
ที่๔พระโกษฐไม้สิบสอง มีตำนานว่า สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๑๖๕ (พ.ศ. ๒๓๔๖) ทรงพระศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ครั้งนั้น หุ้มทองคำ ในบัดนี้ พระโกษฐไม้สิบ