หน้า:ประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์ - ดำรง - ๒๔๗๗.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๔

คำนมัสการข้างต้น เห็นจะได้มาเมื่อกฎหมายไทยเรามีเป็นแบบแผนและจัดเป็นหมวดหมู่อยู่อย่างอื่นแล้ว มาจัดเอาเข้ามาติกาพระธรรมศาสตรเมื่อทีหลัง จึงเข้าไม่ได้สนิท ข้อนี้จะแลเห็นได้ถนัดในกฎหมาย แม้สังเกตแต่มาติกามูลคดี ๆ รามัญว่า มี ๑๘ เท่าธรรมศาสตรมัธยมประเทศ แต่มูลคดีในพระธรรมศาสตรไทยขยายออกไปเป็น ๒๙ เห็นผิดกันมากอยู่ดังนี้ จึงเข้าใจว่า เมื่อจะจัดกฎหมายไทยให้เป็นหมวดตามพระธรรมศาสตร์ จะเอาเข้าไม่ได้สนิท จึงทำอย่างขอไปที.


หนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวอีกข้อ ๑ ว่า สมเด็จพระเอกาทศรฐโปรดให้ตั้ง "ส่วยสัดพัฒนากรขนอนตลาด" ว่าเพียงเท่านี้ ยากที่จะเข้าใจได้ว่า จัดการที่ว่านั้นอย่างไร ๆ บ้าง แต่เชื่อได้ว่า ไม่ใช่พึ่งตั้งภาษีอากรขึ้นคราวนั้นเหมือนกัน ภาษีอากรคู่กับรัฐบาล เหมือนกับกฎหมายคู่กับประชุมชน มีรัฐบาลเมื่อใด ภาษีอากรก็มีมาแต่เมื่อนั้น ผิดกันต่างกันแต่วิธีเก็บภาษี ภาษีอากรที่เรียกรวมในชื่อว่า "ส่วยสัดพัฒนากรขนอนตลาด" นี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า จำแนกเป็น ๓ อย่าง คือ ส่วย อย่าง ๑ อากรขนอน อย่าง ๑ อากรตลาด อย่าง ๑ วิธีเก็บ ถ้าหมายความว่า ๓ อย่างนี้ ได้ความตามหนังสือของมองสิเออร์เลอลูแบ ประกอบ