หน้า:ประวัติ - ปิติ วาทยะกร - ๒๕๑๒.pdf/95

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

สมัยหนึ่ง ได้มีการบันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลขึ้น ข้าพเจ้าควบคุมการบันทึกด้วยความพากเพียร แม้จะเกิดอุปสรรคนานาประการ ก็หาได้ย่อท้อไม่ เมื่อเวลาล่วงไป บทเพลงไทยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นไว้มาก ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินงานการบันทึกโดยตรงก็รู้สึกยินดีที่จะเห็นศิลปประจำชาติไทยได้เป็นหลักฐานปึกแผ่นมั่นคงไปถึงชั้นลูกหลาน อนุชนรุ่นหลังเหล่านี้ก็จะได้มีไว้เป็นพยานอวดแก่ชาวต่างประเทศได้ว่า ประเทศไทยก็หาได้เป็นประเทศที่ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม ไร้อารยะธรรม หรือปราศจากศิลปกรรมเช่นที่เขาคิดไม่ ด้วยความปรารถนาดีอย่างแท้จริงของข้าพเจ้านี้ แม้ในการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ข้าพเจ้าก็ไม่ลืมเอาเพลงไทยติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการว่าจ้างให้โรงพิมพ์ในต่างประเทศถ่ายทอดโน้ตบันทึกในต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์เสีย ซึ่งทั้งนี้ ย่อมจะเป็นหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นอีก ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ข้าพเจ้าได้พบกับเจ้าของและผู้จัดการบริษัทการพิมพ์บทเพลงที่มีชื่อเสียงของโลกบริษัทหนึ่ง คือ Boosey & Hawkes เพื่อตกลงจ้างพิมพ์บทเพลงไทยชุดเรื่อง “ทำขวัญ” ขึ้นประมาณ ๑๗๕ หน้า และในฐานที่เจ้าของเป็นผู้ชอบพอกับข้าพเจ้าอยู่มาก เขาจึงตอบรับด้วยความยินดี โดยยอมรับพิมพ์ให้ในอัตราค่าจ้างที่ต่ำที่สุดเพียง ๑๕๐ ปอนด์ต่อบทเพลงทั้งเรื่องถึง ๕๐๐ ชุด ซึ่งในอัตราแลกเปลี่ยนเงินเวลานั้นก็ประมาณ ๑,๖๐๐ บาท นอกจากนั้น บริษัทยังจะมอบแม่พิมพ์ให้ไว้กับเราอีกด้วย ซึ่งการมอบแม่พิมพ์นี้เป็นสิทธิพิเศษสำหรับเราเท่านั้นที่ได้รับ ข้าพเจ้าส่งข่าวอันน่ายินดีนี้มายังกรมศิลปากร โดยหวังที่จะได้รับเงินอนุเคราะห์เพื่อศิลปประจำชาติ แต่แล้ว กรมศิลปากรผู้มีหน้าที่โดยตรงกับการรักษาศิลปก็หาได้กระตือรือร้นไม่ แม้ข้าพเจ้าได้พยายามแผ้วถางทางเพื่อกิจการนี้ทุกอย่างแล้วก็ตาม ท่านผู้บริ

– 93 –