สิทธิออกจากการครอบครองอย่างแจ่มแจ้ง แต่โดยมากที่ดินเป็นกรรมสิทธิร่วมกันของครอบครัวหรือของหมู่บ้าน กรรมสิทธิของบุคคลแต่ละคนไม่ค่อยจะมี ส่วนอำนาจของพระราชาก่อนสมัยที่พวกมองโกลเข้ามาตีประเทศอินเดียได้ นักนีติศาสตร์ถือว่า ไม่เกี่ยวกับสิทธิของราษฎรผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ตามคัมภีร์เคาตมธรรมสูตรที่แต่งขึ้นราวร้อยปีก่อนพุทธศักราชระบุถึงการได้มาต่าง ๆ ของกรรมสิทธิ โดยไม่อ้างอิงถึงสิทธิของพระราชาเลย ส่วนคำภีร์มนูธรรมศาสตร์ว่า พระราชามีหน้าที่เป็นผู้ระงับข้อพิพาทอันเกิดขึ้นระหว่างราษฎรเรื่องเขตต์ที่ดิน แต่ตัวเองไม่มีสิทธิในที่แต่อย่างใด ความคิดเห็นของนักนีติศาสตร์ฮินดูนี้ตกมาปรากฎอยู่ในพระคำภีร์ฝ่ายพุทธศาสนา เช่น ตามนิทานพระเจ้ามหาสุมมติราชเมื่อถูกเลือกตั้งเป็นปฐมมหากษัตริย์นั้น ราษฎรหาสละที่ดินของตนไม่ แต่ยอมสละเสียส่วนหนึ่งแห่งผลที่จะเก็บเกี่ยวได้ในนาของตนเพื่อให้พระเจ้ามหาสมมุติราชดำเนินราชการได้เท่านั้น[1]
ส่วนประเทศรามัญหรือประเทศพม่าเก่าก็รับอิทธิพลมาจากประเทศฮินดูโดยตรง ระบอบที่ดินจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายฮินดู ตามธรรมสัตถำของพระเจ้าวาเรรุ (เจ้าฟ้ารั่ว) ราษฎรเป็นเจ้าของที่สวนนาและที่ ๆ ปลูกเรือนอยู่ มีสิทธิซื้อขาย ให้ และจำนำได้ โดยพระราชาไม่เกี่ยวข้องเลย (มาตรา ๖๗, ๘๖ และ ๙๒) ตามมาตรา ๑๖๙ และ ๑๗๐ การพิศูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินก็พิศูจน์ด้วยพะยานหลักฐาน ถ้ามีหลักฐานด้วยกันทั้งสองฝ่ายหรือเป็นที่สงสัยแล้ว ให้ผู้ครอบครองที่พิพาทเนืองนิจเป็นเจ้าของ ยังปรากฎว่า ที่ดินเคยเป็นกรรมสิทธิร่วม
- ↑ ให้ดู อคญฺญสุตฺตํ ใน ทีฆานิกาย และ อรรกถา ใน วิมานวตฺถุ เป็นต้น