ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
15
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

กรุณาของผู้เป็นประมุข ตนทราบว่า ตนโอนที่ดินให้ใครไม่ได้ ประมุขผู้เดียวเป็นผู้จำหน่ายที่ดิน ฉะนั้น จิตต์ใจราษฎรไม่มีทางจะเกิดความรู้สึกว่าตนมีสิทธิเหนือที่ดินที่ทำ การที่ต้องเวนคืนที่ดินและประมูลกันใหม่ป้องกันมิให้ราษฎรถือได้ว่า ที่ดินเป็นทรัพย์เหมือนเช่นช้างม้าโคกระบือหรือไถคราดซึ่งตนเป็นเจ้าของอาจซื้อขายและเปลี่ยนได้ตามใจ แต่ที่ดินเป็นของประมุขต่างหาก ตนเป็นแต่เพียงผู้อาศรัยอยู่.

แต่ทว่า แม้ในชุมนุมชนเชื้อชาติไทยที่ล้าหลังที่สุดก็ยังเป็นที่สังเกตได้ว่า การครอบครองของราษฎรกำลังจะยืดเยื้อคงที่เดิมไม่เปลี่ยนมือกันไปบ่อย ๆ เหมือนแต่ก่อน เป็นเหตุให้ราษฎรเกิดมีความรู้สึกขึ้นบ้างเล็กน้อยว่า ตนมีสิทธิเหนือที่ดินที่ทำอยู่ ในเบื้องต้นควรสังเกตว่า ที่ดินที่ต้องเวนคืนมาแบ่งปันก็มีแต่ที่นาอย่างเดียว ที่ ๆ ปลูกเรือนอยู่พร้อมด้วยสวนครัวโดยมากไม่ต้องประมูลแบ่งปันและตกทอดไปถึงลูกหลาน ในบางหมู่ยอมให้ซื้อขายกันได้ ส่วนป่าดงหรือที่รกร้างคงเป็นของประมุข โดยมากถือกันว่า ผู้แผ้วถางได้สิทธิหวงห้ามและทำประโยชน์ต่อไปแต่คนเดียว แต่ต้องเสียภาษีให้แก่ประมุขเท่านั้น ฉะนั้น มีแต่นาอย่างเดียวซึ่งไม่อาจตกเป็นของบุคคลคนหนึ่งตลอดไป ยังต้องเวนคืนให้ผู้เป็นประมุขจัดการแบ่งปันใหม่[1] ความจริงแม้แต่นาเองก็ปรากฎว่า การแบ่งปันกำลังสาปสูญไปเหมือนกัน เช่นได้กล่าวมาแล้วว่า แต่ก่อนพวกไทยขาวเคยแบ่งปันนากันทุก ๆ ๓ ปี แต่ใน


  1. ควรสังเกตว่า ระบอบที่ดินของชนเชื้อชาติไทยนั้นมีลักษณะคล้านคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสม์ที่ถือว่า ที่ดินที่เพาะปลูกควรเป็นของกลาง ในหมู่ชนที่ผู้เป็นประมุขมิได้แซกแซงในการแบ่งปันโดยเห็นแก่บุคคล แต่เอาใจใส่ให้การแบ่งปันนั้นเป็นไป
ม.ธ.ก.