หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
20
ระบอบที่ดิน

หมวด ๒
ลักษณะสำคัญแห่งระบอบที่ดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

10.กฎหมายที่ดินแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งตกทอดมายังสมัยเรานั้น ในประมวลกฎหมายรัชชกาลที่ ๑ รวบรวมอยู่แทบทั้งหมดในตอนต้นแห่งพระอัยยการเบ็ดเสร็จตามลักษณะ เขตฺตาทิ อารามวนาทิ ถานํ[1] และแยกออกเปน ๒ ตอน โดยผู้ชำระเอาบทมาตราที่ว่าด้วยลักษณะขนาบคาบเกี่ยวมาขั้นอยู่ด้วยความเผลอไป[2] ตอนแรก คือ บทที่ ๑ ถึงบทที่ ๔๕[3] มีคำปรารภลงปีมะแม ๑๒๖๓ แต่จะเปนศักราชอะไรยังไม่มีหลักฐานที่จะพึงวินิจฉัยได้ ฉะนั้น เป็นที่ทราบไม่ได้ว่า บทมาตราในตอนแรกนี้ได้ตราขึ้นในแผ่นดินใดแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนตอนที่ ๒ คือ บทที่ ๕๒ ถึงบทที่ ๖๕ เริ่มด้วยบทกฎหมายลงปีกุน ๑๙๐๓ ซึ่งน่าจะเป็นปีตามพุทธศักราช เพราะ


  1. ควรสังเกตว่า ในพระธรรมสาตร์ ข้อพิพาทเรื่องที่ดินจัดอยู่ในมูลคดี ๒ ประการต่างกัน คือ เขตฺตาทิ และ อารามวนาทิ (มูลคดีที่ ๙ และ ๑๐) ฉะนั้น ดูเหมือนว่า เดิมมีระเบียบต่างกันตามแต่ประเภทที่ดินจะเข้าอยู่ในประเภท เขตฺต หรือในประเภท อารามวน แต่ทว่า ถ้าเคยมีการแบ่งกันเช่นนี้จริง คงเลิกใช้ไม่ได้เป็นผลเสียแต่เนิ่นนาน เพราะในพระอัยยการเบ็ดเสร็จบทมาตราเกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและที่บ้านปะปนกันหมดจนถึงแยกจากกันไม่ได้.
  2. นี้เห็นได้ชัดจากการลงเลขลำดับมาตราในฉะบับพิมพ์ของนายโหมด และฉะบับพิมพ์อื่น ๆ ที่ผู้พิมพ์อาศัยฉะบับของนายโหมดเป็นสำเนา เช่น ฉะบับหมอบรัดเลย์ และฉบับกรมหลวงราชบุรีฯ เป็นต้น.
  3. บทมาตราในประมวลกฎหมายรัชชกาลที่ ๑ ที่อ้างในคำสอนนี้ ก็อ้างตามเลขลำดับในฉะบับพิมพ์ของมหาวิทยาลัย.
ม.ธ.ก.