ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/139

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๖

ภิเศกเสร็จ เสด็จทรงเครื่องศิริราชวิภูษนาธาร กาญจนวิเชียรมาลี มณีมาศมงกุฎ สำหรับวิไชยยุทธราชรณภูมิเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายชมภูทัด สูงหกศอกสองนิ้ว ผูกพระที่นั่งสุวรรณมหามณฑป เปนบรมอรรคยานพาหนะ พร้อมด้วยแสนสุรชาติโยธาพลากรเหี้ยมหาญ พลโล่ห์เขนทวนธนูดูดิเรกมเหาฬาร นานาวุธประภูศักดิสารสินธพดุรงคภาชีชาติพันฦก อธึกด้วยกาญจนกลิ้งกลดอภิรุมบังสุริยไพโรจรุจิตร พิพิธปฎาการธงไชยบรรฎากเปนขนัดแน่นไสว เดียรดาษด้วยท้าวพระยาพลากรกรรกงริ้วรายระยะโดยขบวนบทจรพยุหบาตรซ้ายขวาน่าหลังทั้งปวงเสร็จ ได้เพลามหาพิไชยฤกษ์ โหราลั่นฆ้องไชย ทวิชาจารย์เป่าสังข์ประโคมฆ้องกลองกาหฬกึกก้องนฤนาทนี่สนั่นพสุธาดล ดำเนินธวัชลีลาพยุหแสนยากรทัพหลวงออกจากหงษาวดี ร้อนแรมมา ๒๕ เวน ถึงแดนเมืองกำแพงเพชร เสด็จประทับเถลิงราชพลับพลาไชยราชาอาศน์ จึงดำรัศให้พระเจ้าแปรเปนนายกองทัพเรือ แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็ยกมาชุมพลทั้งทัพบกทัพเรือณเมืองนครสวรรค์ แลพลพระเจ้าหงษาวดียกมาครั้งนั้น คือ พลพม่ามอญในหงษาวดี อังวะ ตองอู เมืองปรวน แลเมืองประแสนหวี เมืองกอง เมืองมิต เมืองตาละ เมืองหน่าย เมืองอุมวง เมืองสะพัวบัวแส แลเมืองสรอบ เมืองไทยใหญ่ อนึ่ง ทัพเชียงใหม่นั้น พระเจ้าเชียงใหม่ประชวร จึงแต่งให้พระแสนหลวงพิงไชยเปนนายกองถือพลลาวเชียงใหม่ทั้งปวงมาด้วยพระเจ้าหงษาวดีเปนทัพหนึ่ง แลกำหนดพลนั้นมีบาญชีร้อยหมื่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเปนนายกองถือพลหัวเมืองเหนือทั้งเจ็ดหัวเมืองมาด้วยพระเจ้าหงษาวดีเปนทัพหนึ่ง ครั้นได้ศุภวารฤกษ