นเรศวรเปนเจ้าก็ถวายบังคมลากลับขึ้นมาเมืองพระพิศณุโลก ให้ตรวจเตรียมรี้พลช้างม้าโดยขบวนพยุหบาตราทัพ พลสกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย ครั้นได้ศุภฤกษ์ ก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง ยกทัพหลวงขึ้นไปถึงตำบลพระตำหนักไม้ไผ่ใกล้เมืองหงษาวดีสามเวน ก็พักผลอยู่ที่นั้น จึงบอกหนังสือเข้าไป พระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ดีพระไทย จึงให้แต่งเสบียงอาหารแลเครื่องเสวยให้ข้าหลวงนำลงมาถวาย แล้วก็นำเสด็จขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี ๆ จึงตรัศว่า ซึ่งพระเจ้าหลานเรายกขึ้นมาครั้งนี้ เรามีความยินดีนัก แล้วแจ้งการซึ่งเมืองรุม เมืองคัง แขงเมืองนั้นให้ฟังทุกประการ สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้าทูลว่า ข่าวแจ้งลงไป ข้าพระองค์จึงยกมาช่วยการพระราชสงคราม พระเจ้าหงษาวดีตรัศให้สมเด็จพระนเรศวร กับพระมหาอุปราชา แลพระสังขทัต ยกไปเอาเมืองรุม เมืองคัง จงได้ ทั้งสามพระองค์ก็ถวายบังคมลายกทัพไปถึงเมืองรุม เมืองคัง ให้ตั้งค่ายแล้วปลูกราชสัณฐาคารไว้ท่ามกลาง เสด็จปฤกษาราชการพร้อมกันทั้งสามพระองค์ พระมหาอุปราชาจึงตรัศว่า ซึ่งจะยกเข้ารบพร้อมกันทั้งสามทัพนั้น ไพร่พลจะตลุมบอนกันนัก จะผลัดกันเข้ารบทัพละวัน ครั้นปฤกษาพร้อมกันแล้ว พระมหาอุปราชายกขึ้นไปรบณวัน ๒ ๕ฯ ๕ ค่ำ เพลาสี่ทุ่ม เดือนตก ฝ่ายข้าศึกก็คัดก้อนศิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก ขึ้นมิได้ เพลาจวนรุ่งก็ถอยลงมา ครั้นณวัน ๓ ๖ฯ ๕ ค่ำ ทัพพระสังขทัตยกขึ้นไปรบ ข้าศึกก็คัดก้อนศิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก จะหักเอามิได้ ก็ถอยลงมา ครั้นณวัน ๔ ๗ฯ ๕ ค่ำ เพลาตีสิบเอ็จทุ่ม สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้าก็ยกทหารปืนครบมือขึ้นไป ให้
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/170
หน้าตา