ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/191

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒๘

ครั้นถึงเดือนห้า ปีมเสง เอกศก พระเจ้าหงษาวดีดำรัศให้พระมหาอุปราชาถือพลห้าหมื่นลงมาตั้งทำนาณเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วแต่งหนังสือรับสั่งให้สมิงพตะเบิดถือไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่ว่า อันพระนครศรีอยุทธยานั้น แม่น้ำเปนคูรอบ แต่องค์สมเด็จพระราชบิดาเรามีบุญบารมีปราบได้ถึงสิบทิศยังทำการปี ครั้งนี้ ทั้งพระมหาธรรมราชาก็มีราชบุตรสององค์ การสงครามก็องอาจกล้าหาญ ถึงมาทว่าพลทหารเราจะมากกว่าสักร้อยเท่าก็ดี อันจะหมิ่นหักเอาโดยเร็วเหมือนยังเมืองทั้งปวงนั้นมิได้ จำจะคิดเปนการปีจึงจะได้ บัดนี้ ก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลห้าหมื่นยกหนุนลงมาตั้งทำนาอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชร ให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งมั่นไว้อย่าให้ชาวพระนครออกหักได้ แล้วให้ทำไร่นาตั้งยุ้งฉางผ่อนเสบียงณเมืองเชียงใหม่ลงไปไว้จงมาก ประการหนึ่ง ให้แต่งออกลาดอย่าให้ชาวเมืองทำไร่นาลงได้ พระนครศรีอยุทธยาจึงจะผอม ออกพระวัสสาแล้ว ทัพหลวงจึงจะเสด็จลงไปพร้อมกัน จะหักเอาทีเดียว พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งพระราชกำหนดพระเจ้าหงษาวดีดังนั้น ก็ให้ขยายค่ายขุดคูตั้งป้อมพูนเชิงเทินหอรบมั่นคงตามรับสั่ง แล้วแต่งกองออกเที่ยวลาดเปนหลายกอง ได้รบกันกับกองตระเวน ชาวพระนครตีแตกเปนหลายครั้ง ที่จับได้เปนก็ส่งเข้าไปถวาย ถามได้เนื้อความแจ้งสิ้นทุกประการ.

สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงดำรัศแก่พระบรมราชโอรสทั้งสองพระองค์ว่า พระเจ้าหงษาวดีคิดการปี ให้พระมหาอุปราชาผู้เปนพระราชบุตรถือพลห้าหมื่นยกมาตั้งทำนาอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชร พระเจ้าเชียงใหม่ถือพลแสนหนึ่งยกมาตั้งมั่นอยู่ตำบลสระเกษ ปลูกยุ้งฉางถ่ายเสบียงอาหารมาไว้ ออกพระวัสสาแล้ว ทัพพระเจ้าหงษาวดีจะยก