ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖

คเนมากสักหน่อย แต่การศึกษาพงษาวดารเปนการที่ต้องใช้ความคิดคาดคเนอยู่แล้ว เสมอว่า การคาดคเนเปนน่าที่ของผู้ศึกษาพงษาวดาร ข้าพเจ้าจึงจะกล้าคาดคเนในข้อนี้ โดยสังเกตโวหารในหนังสือฉบับหลวงประเสริฐกับฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ เห็นไม่ห่างกันนักนี้เปนหลักว่า หนังสือพระราชพงษาวดารความพิศดารความฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ นั้นเห็นจะแต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษ เพราะการแต่งหนังสือในครั้งกรุงเก่า สังเกตตามจำนวนเรื่องหนังสือที่มีอยู่จนทุกวันนี้ มีเปน ๓ ยุค คือ ยุคที่ ๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ แต่งหนังสือกันคราว ๑ เรื่องหนังสือที่ยังปรากฎอยู่ คือ มหาชาติคำหลวง แลยวนพ่าย เปนต้น เรื่องลิลิตพระลอก็เข้าใจว่า แต่งในคราวนั้นเหมือนกัน ยุคที่ ๒ แผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชแต่งหนังสือกันอิกคราว ๑ หนังสือที่ยังปรากฎอยู่ คือ หนังสือสมุทโฆษ กำสรวญ อนิรุท เปนต้น ต่อลงมาถึงยุคที่ ๓ ก็ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษ ยังมีหนังสือบทกลอนต่าง ๆ ปรากฎอยู่เปนอันมาก หนังสือในระหว่างยุคที่กล่าวนี้ไม่ใคร่พบ ว่าโดยย่อ ยุคใดพระเจ้าแผ่นดินพอพระราชหฤไทยในการแต่งหนังสือ ก็มีกระวีเกิดขึ้นมากในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่า พระราชพงษาวดารฉบับพิศดารจะมีขึ้นในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษ มีความที่น่าคิดคาดคเนอิกข้อ ๑ คือว่า หนังสือพระราชพงษาวดารนี้จำต้องแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มเติมต่อกันมาเปนคราว ๆ แผ่นดินไหนจะได้แต่งเนื้อเรื่องลงมาเพียงใด ข้อนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงตรวจเนื้อความตามฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยไว้ในพระราชหัดถเลขาเปนหลัก เมื่อตรวจสอบ