ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/268

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐๕

ฝ่ายพระยารามัญหัวเมืองทั้งปวงแจ้งในหนังสือพระยาตองอูดังนั้นก็ตกใจกลัว ต่างคนต่างปฤกษากรมการนายบ้านนายอำเภอว่า เราคิดการครั้งนี้หมายจะลับก็ไม่ลับ พระยาตองอูรู้ความสิ้น จึงมีหนังสือมาว่ากล่าวทั้งนี้เพื่อเพราะเอนดูเราผู้เปนตระกูลรามัญ ครั้นจะขืนผันน่าจะพึ่งกรุงพระนครศรีอยุทธยาทีเดียว ก็เปนรยะท่าทางไกล จะต้องคำบุราณว่า กว่าถั่วจะสุกก็งาไหม้ ด้วยพระยาตองอูมีกำลังรี้พลมาก แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็นับถือว่า เปนเชื้อพระวงษ์ จะว่าประการใดก็สิทธิ์ขาด จำเราจะหาความชอบคืน จับเอาไทยส่งเข้าไปให้ได้ คิดกันดังนั้นก็แต่งหนังสือขึ้นไปถึงพระยาตองอูเปนใจความว่า ข้าพเจ้าหัวเมืองทั้งปวงขอน้อมเศียรเกล้าบังคมมาถึงใต้เบื้องบาทพระยาตองอู ด้วยข้าพเจ้าทั้งปวงเปนคนโมหคิดประทุษฐจิตรผิดไปนั้น พวกข้าพเจ้าทั้งปวงถึงที่ตาย ซึ่งโปรดให้มีหนังสือชี้แจงมาให้ข้าพเจ้าเห็นผิดแลชอบนั้น ดุจเทพยดามาชุบเอาชีวิตรข้าพเจ้าแลชีวิตรไพร่ฟ้าประชากรเปนคืนมานั้น พระคุณไม่มีที่จะเปรียบได้ ข้าพเจ้าจะขอกระทำตามโอวาทเอาเปนที่พึ่งที่พำนักสืบไป แล้วก็ส่งหนังสือให้ผู้ถือหนังสือกลับไปยังเมืองตองอู พระยาตองอูแจ้งในหนังสือดังนั้นก็มีความยินดี ตั้งแต่นั้นมา ก็บำรุงช้างม้าเอาใจไพร่พลในเมืองตองอูให้รักใคร่เปนอันมาก ฝ่ายพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะสั่งแก่พระยารามัญทั้งปวงให้คิดอ่านจับกองทัพไทยให้ได้ จะได้ส่งเข้าไปเมืองตองอูเอาความชอบ ท้าวพระยารามัญทั้งปวงก็คอยช่องจะจับไทยให้ได้

ครั้นณเดือนอ้าย เข้าเบาสุก เหล่าไทยออกไปเกี่ยวเข้าณทุ่งนาเมาะลำเลิ่ง แต่พวกขุนจบสิบห้าคนออกไปเกี่ยวเข้าอยู่ริมชายป่า สมิง