ไหนจะผิดได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าได้ตรวจพิเคราะห์ดูในหนังสือพระราชพงษาวดารทั้งฉบับพิมพ์ ๒ เล่มแลฉบับพระราชหัดถเลขา เห็นว่า เรื่องพระราชพงษาวดารที่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษจะมาจบลงเพียงกองทัพเจ้าพระยาโกษา (ขุนเหล็ก) ชนะพม่าที่เมืองไทรโยคแล้วกลับมาพระนคร (เล่ม ๒ ฉบับพระราชหัดถเลขา น่า ๕๙) ความต่อนั้นที่กล่าวขึ้นเรื่องวิไชเยนทร์ดูต่อไม่สนิท แลข้อความในพระราชพงษาวดารแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ต่อนั้นมาก็อยู่ข้างจะคลาศเคลื่อน วันคืนก็ไม่ใคร่มี ดูเปนแต่เอาเรื่องที่เขาเล่ามาเรียงลง เช่น เรื่องเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ เรื่องหลวงสรศักดิ์ ตลอดจนเรื่องเจ้าพระยาโกษา (ปาน) ไปเมืองฝรั่งเศส เรื่องราวแม้เท่าที่เรารู้ในเวลานี้ยังถ้วนถี่ถูกต้องกว่าที่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดาร จึงเห็นว่า จะเปนผู้ที่เกิดทีหลังแต่งหนังสือพระราชพงษาวดารตอนนั้นเปนแน่ จึงเลยผิดถึงปีสมเด็จพระนารายน์สวรรคตได้เปน ๖ ปี แต่ถ้าเรื่องพระราชพงษาวดารตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายน์มหาราชไม่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษแล้ว จะได้แต่งเมื่อไร ความวินิจฉัยข้อนี้ ถ้าหนังสือพระราชพงษาวดารตอนนั้นจะได้แต่งในครั้งกรุงเก่า ก็มีแต่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริยาศน์อมรินทร์ ข้อนี้พระยาโบราณราชธานินทร์คัดค้านว่า ในรัชกาลนั้น บ้านเมืองไม่ปรกติ มีศึกสงครามจนตลอด ไม่เห็นมีโอกาศจะแต่งได้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก็ต้องมาแต่งในครั้งกรุงธนบุรี แม้มีศึกสงครามมากเหมือนกัน ก็เปนข้างฝ่ายชนะ แลมีพยานอิกอย่าง ๑ ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์บทลครรามเกียรติ์ยังปรากฎอยู่ ถ้ามีโอกาศพอจะทรง
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/27
หน้าตา