ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/284

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒๑

หกศอกสี่นิ้ว พลายรายภักถันเลี้ยง หนึ่ง สูงหกศอกสี่นิ้ว พลายจำกยอ หนึ่ง สูงห้าศอกคืบแปดนิ้ว พลายอนันตโยธา หนึ่ง สูงห้าศอกคืบหนึ่งนิ้ว พลายรายภักกำยาง หนึ่ง สูงหกศอกสองนิ้ว พลายตมายพระยาแพร่ หนึ่ง สูงหกศอก พลายเขยกระมัดไป หนึ่ง สูงห้าศอกคืบหกนิ้ว พังมระพันคน หนึ่ง สูงสี่ศอกคืบ พังวมะหล่อม หนึ่ง สูงห้าศอกคืบสามนิ้ว แลได้ทั้งช้างโขลงพวกหนึ่งเอามาถวาย.

ถึงณวัน ๑๓ ค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ตรัศให้พลทหารยกเข้าปีนกำแพงปล้นเมืองตองอู ชาวเมืองตองอูป้องกันเมืองเปนสามารถ การปล้นนั้น กลางวัน แลพลทหารป่วยเจ็บมาก พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโองการตรัศให้ห้ามบมิให้ปล้น ก็ให้คลายพลคืนออกมาเข้าค่าย จึงตรัศให้แต่งไปลาดทุกตำบลทั่วจังหวัดเมืองตองอูจนถึงแดนเมืองอังวะ แลได้เสบียงเปนอันน้อยนัก เข้าแพงเปนทนานละสิบสลึงสามบาท ไพร่พลทั้งหลายมิได้อยู่เปนมั่วมูลในทัพหลวงแลน่าค่ายล้อมเมืองทั้งปวงนั้น ก็จ่ายออกไปลาดหากินทุกตำบล อนึ่ง ไพร่พลหลวงทั้งหลายขาดเสบียงล้มตายก็มากนัก.

ขณะนั้น พระเจ้าเชียงใหม่จะยกช้างม้ารี้พลไปโดยเสด็จไซ้ เหตุด้วยพระราชเดโช ชาวเชียงใหม่ ได้มาเปนข้าหลวงแต่ขณะก่อน แลเมื่อเจ้าพระยาตนาวศรียกทัพขึ้นไปเชียงใหม่ห้ามชาวล้านช้างนั้น พระรามเดโชเข้าทัพไปด้วยเจ้าพระยาตนาวศรี ๆ ก็แต่งพระรามเดโชให้มาอยู่ซ่องคนในเมืองเชียงราย เชียงแสน อันเปนเภทแก่พระเจ้าเชียงใหม่นั้นให้ขึ้นมาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ตามประเพณี ครั้นพระรามเดโชไปถึงเมือง