ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/37

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๙

ที่ ๑ จนเสร็จได้พิมพ์แล้ว ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๒ ต้นฉบับเดิมที่เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ได้ทำไว้ เนื้อความส่วนรัชกาลที่ ๒ มีเพียง ๗ เล่มสมุดไทย แลยังเปนเรื่องพงษาวดารพม่านำมาลงไว้ในนั้นเสียถึงเกือบ ๒ เล่มสมุดไทย คงมีเนื้อความพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๒ เพียง ๕ เล่มสมุดไทยกว่า ๆ ถ้าเรื่องราวในรัชกาลที่ ๒ มีเพียงเท่านั้น หนังสือจะสั้นยาวเท่าใดก็ไม่อัศจรรย์ แต่ความจริงที่ได้อ่านพบในหนังสืออื่น ๆ โดยมากเปนหนังสือต่างประเทศ ยังมีเรื่องราวที่ควรจะลงในพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๒ มีอยู่อิกมาก จะพิมพ์เพียงเท่าที่เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ได้จดไว้เปนการบกพร่องมากนัก จะสอบสวนหนังสืออื่นมาแต่งให้บริบูรณ์ก็ต้องการเวลามาก ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่มีเวลาพอจะให้ จึงค้างมาด้วยเหตุนี้.

การแต่งหนังสือพระราชพงษาวดารเรื่องเรียกนามแผ่นดินเปนข้อสำคัญอย่าง ๑ ในฉบับพิมพ์ ๒ เล่มมักใช้พระนามพระเจ้าแผ่นดินตามที่คนทั้งหลายเรียกกันเมื่อภายหลัง ดังเช่น สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าบรมโกษ เปนต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์นามแผ่นดินไว้เปนระเบียบ จึงได้เอานามตามพระราชนิพนธ์มาใช้ในหนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้ แต่เพราะคนทั้งหลาย รวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองด้วย เคยเรียกมาเสียอย่างเดิมช่ำชอง จะเปลี่ยนความเข้าใจไปได้โดยยาก จึงได้ลงพระนามตามที่เรียกกันมาแต่เดิมไว้ด้วย.

ระเบียบการพิมพ์พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา นี้ ได้แบ่งเปน ๓ เล่ม เพราะความมากกว่าฉบับที่พิมพ์แล้วแต่ก่อนประการ ๑