หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๗.pdf/47

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ตอนที่เปนตอนซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตทรงเก็บตามรายวันทัพนั้นเอง ซึ่งมีสมุดรายวันอาจสอบกับพงษาวดารได้ว่า ท่านเก็บอย่างไร ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้

ข้อซึ่งหนังสือ ๒ เล่มอ้างว่า ทรงชำระเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ แล ๑๑๕๗ ฉันเห็นว่า จะเปนแต่ชำระตรวจสอบถ้อยคำแลดัดแปลงสำนวนบ้าง ไม่ใช่แต่งหรือเก็บความขึ้นร้อยกรองใหม่ เคยสังเกตใจว่า สำนวนพงษาวดารนั้นแบ่งเปนตอน ๆ เช่นนี้ ได้ส่งสมุดดำทั้ง ๒ เล่มนั้นคืนออกมาด้วย

(พระบรมนามาภิไธย) สยามินทร์

เพื่อจะให้ผู้อ่านเข้าใจพระบรมราชาธิบายในพระราชหัดถเลขานี้ชัดเจน จำจะต้องเล่าแม้โดยย่อพอให้ทราบก่อนว่า หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับต่าง ๆ ที่หอพระสมุดวชิรญาณรวบรวมไว้ได้มีต่างกันอย่างไรบ้าง

หนังสือพระราชพงษาวดารที่กรรมการหอพระสมุดหาต้นฉบับได้ในรัชกาลที่ ๕ มีอยู่ ๕ ความ คือ

(๑)หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ที่เรียกพระราชพงษาวดารฉบับนี้ว่า "ฉบับหลวงประเสริฐ" เพราะพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ไปได้ต้นฉบับมาให้แก่หอพระสมุด กรรมการจึงให้เรียกชื่อว่า "ฉบับหลวงประเสริฐ" เพื่อให้เปนเกียรติยศแก่ผู้ให้ หนังสือพระราช