หน้า:พรบ มธ ๒๕๕๘ (๑).pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖๖ ก

๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
หน้า ๕๘
ราชกิจจานุเบกษา

(๒)สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยระดมความคิดเห็นและทรัพยากรในด้านต่าง ๆ จากประชาคมธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่า และสาธารณชนทั่วไป

จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของสมาชิกสภาธรรมศาสตร์สัมพันธ์ ตลอดจนการประชุมและวิธีดำเนินงานของสภาธรรมศาสตร์สัมพันธ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๒๖ให้มีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย อธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิทยาลัย สถาบัน หรือสำนัก ประธานสภาอาจารย์ และประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ

ให้คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยแต่งตั้งรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการโดยคำแนะนำของอธิการบดี

มาตรา๒๗คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแผนพัฒนามหาวิทยาลัย พิจารณากลั่นกรองข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัย พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การเปลี่ยนแปลง การยุบเลิกส่วนงาน และการแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่อธิการบดี ทั้งนี้ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๒๘การประชุมและวิธีดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๒๙ให้มีคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย ประธานและกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ทำหน้าที่พิจารณาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัย

จำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานและกรรมการ ตลอดจนการประชุมและวิธีดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๓๐ให้มีคณะกรรมการนโยบายวิชาการ ประกอบด้วย ประธานและกรรมการ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง

คณะกรรมการนโยบายวิชาการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)เสนอแนะเป้าหมาย นโยบาย แนวทางในการพัฒนาและแผนพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยต่ออธิการบดี

(๒)เสนอแนะต่อสภามหาวิทยาลัยในการอนุมัติหลักสูตรการศึกษาและการเปิดสอน รวมทั้งการปรับปรุง การยุบรวม และการยกเลิกหลักสูตรการศึกษา

(๓)เสนอแนะต่อสภามหาวิทยาลัยในการอนุมัติการรับเข้าสมทบ การจัดการศึกษาร่วมหรือการยกเลิกการสมทบ การยกเลิกการจัดการศึกษาร่วมของสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยอื่น

(๔)ดำเนินการเกี่ยวกับวิชาการของมหาวิทยาลัยตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย