ในเรื่องที่จะเรียกทรัพย์คืนอยู่ เพราะเหตุนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้เปนพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปดังนี้.
มาตรา๑ในคดีเรื่องลักทรัพย์, แย่งชิง, วิ่งราว, ปล้นทางบกทางน้ำ, กันโชก, ฉ้อโกง, ยักยอกทรัพย์ผู้อื่นเปนประโยชน์ของตนในทางอาญา, แลรับของโจรใด ๆ ที่เจ้าพนักงานอัยการเปนผู้ยื่นคำหากล่าวโทษผู้กระทำผิดตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญามีโทษนั้น แต่นี้ไปให้เปนหน้าที่ของเจ้าพนักงานอัยการที่กล่าวแล้วนั้นเปนผู้ฟ้องแทนผู้ที่ได้รับความเสียหายเพื่อเรียกทรัพย์หรือราคาของทรัพย์ซึ่งผู้เจ้าของได้เสียไปโดยผิดกฎหมายในคดีอาญาที่ว่ามาแล้วนั้นคืนจากผู้ต้องหาได้.
มาตรา๒คดีที่ฟ้องเรียกทรัพย์คืนดังกล่าวแล้วนั้น ให้เจ้าพนักงานอัยการยื่นรวมกันกับข้อหาในความอาญา หรือให้ทำเปนคำร้องยื่นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างที่ศาลเดิมพิจารณาความอาญานั้นอยู่ก็ได้ คำพิพากษาในเรื่องเรียกทรัพย์คืนนี้ให้ชี้ขาดลงไว้ในคำพิพากษาคดีอาญาส่วนหนึ่งด้วย คดีเช่นนี้จะแยกฟ้องเปนความแพ่งเมื่อภายหลังคำพิพากษาในความอาญานั้นถึงที่สุดแล้วก็ได้.
มาตรา๓ในทางพิจารณา ถ้าพยานหลักถานที่ได้นำสืบนั้นไม่เปนที่เพียงพอจะให้รู้ชัดได้ว่าจำนวนหรือราคาทรัพย์นั้นมาก