ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พรบ แก้ ปพพ (๒๕๖๗-๐๘-๑๒).djvu/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๘ ก

๒๔ กันยายน ๒๕๖๗
หน้า ๑๑
ราชกิจจานุเบกษา

"มาตรา๑๔๙๒เมื่อได้แยกสินสมรสตามมาตรา ๑๔๘๔ วรรคสอง มาตรา ๑๔๙๑ หรือมาตรา ๑๕๙๘/๑๗ วรรคสองแล้ว ให้ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา ๑๔๗๔ (๒) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายละครึ่ง"

มาตรา๓๗ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๙๒/๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๔๙๒/๑ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาล การยกเลิกการแยกสินสมรสให้กระทำได้เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอต่อศาล และศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายคัดค้านศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว

เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรสสิ้นสุดลง เพราะคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่ง หรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม"

มาตรา๓๘ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๙๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๔๙๓ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว คู่สมรสต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน"

มาตรา๓๙ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๙๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๔๙๘การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส"

มาตรา๔๐ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๙๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๔๙๙การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๔๙ มาตรา ๑๔๕๐ หรือมาตรา ๑๔๕๘ ไม่ทำให้ผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ