หน้า:พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรฯ - ดำรง - ๒๔๙๓.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ชิดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตรัสสั่งให้พระมหาธรรมราชายกกองทัพหัวเมืองเหนือลงมาตีโอบหลังข้าศึก พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้เกรงจะถูกกระหนาบ ก็รีบเลิกทัพหนีไป ฝ่ายไทยได้ที สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตรัสสั่งให้พระราเมศวรราชโอรส กับพระมหาธรรมราชา ติดตามตีข้าศึก แต่ไปเสียกลถูกข้าศึกล้อมจับได้ทั้ง ๒ พระองค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ต้องยอมเลิกรบ ไถ่พระราเมศวรกับพระมหาธรรมราชากลับมา แต่นั้นก็ว่างศึกหงสาวดีมา ๑๔ ปี ตั้งแต่ปีระกา พ.ศ. ๒๐๙๒ จนปีกุน พ.ศ. ๒๑๐๖

พระโอรสธิดาของพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรีสมภพในระหว่างเวลาที่ว่างสงครามนั้นทั้ง ๓ พระองค์ พระสุพรรณกัลยาณีพี่นางเห็นจะแก่กว่าสมเด็จพระนเรศวรราวสัก ๓ ปี จึงทรงเจริญเป็นสาว ได้เป็นพระยาชาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเมื่อสมเด็จพระนเรศวรพระชันษาได้ ๑๕ ปี พระน้องยาเอกาทศรถก็เห็นจะอ่อนกว่าสมเด็จพระนเรศวรไม่เกิน ๓ ปี จึงทรงเจริญวัยได้ช่วยพระเชษฐารบพุ่งตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อรบพระยาจีนจันตุ ดังจะปรากฏต่อไปข้างหน้า

(๒)

พอสมเด็จพระนเรศวรพระชันษาได้ ๘ ขวบ ก็เกิดศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒ คือคราวพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองขอช้างเผือก อันเป็นต้นเรื่องตอนสำคัญของประวัติสมเด็จพระนเรศวร ใน