หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/57

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๖

ทนุบำรุงได้ง่าย หรือถ้าจะกะเกณฑ์ตามหัวเมืองก็คงต้องเกณฑ์หัวเมืองขึ้นกรมมหาดไทย ยกมาไว้เพื่อจะให้เปนน่าที่อันเดียวตลอดไป เมื่อมีราชการทัพศึกจะได้ประมาณกะเกณฑ์ช้างหลวงช้างราษฏรได้สดวกดังนี้อีกอย่างหนึ่ง แต่กรมสองกรมนี้ก็ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชากรมมหาดไทยมีเจ้านายไปเปนแม่กองฤาจางวางกรมละองค์แต่เดิมมา เมื่อการทัพศึกขาดไป กรมทั้งสองนี้ก็ซุดโซมเสื่อมซามลงเปนอันมาก

กรมใหญ่ๆที่มีราชการเปนทหารแบ่งไว้ฝ่ายทหาร คือกรมอาษาแปดเหล่า อาษาใหญ่ซ้ายขวา อาษารองซ้ายขวา เขนทองซ้ายขวา ทวนทองซ้ายขวา ทั้งแปดกรมนี้เปนทหารหน้า สำหรับรักษาพระนครแลพระราชอาณาเขตร์ กรมอาษาใหญ่สองกรมเจ้ากรมถือศักดินาหมื่นเปนแม่ทัพใหญ่ชั้นที่หนึ่ง กรมอาษารองแลกรมเขนทองสี่กรมเจ้ากรมถือศักดินาห้าพันเปนแม่ทัพชั้นที่สอง กรมทวนทองสองกรมเจ้ากรมถือศักดินาพันหกร้อยเปนนายพล ในกรมอาษาแปดเหล่านี้เปนกองทัพซึ่งสำหรับจะออกไปปราบปรามข้าศึกสัตรูทุกทิศ เมื่ออยู่ประจำในพระนคร เจ้ากรมอาษาใหญ่ทั้งสองนี้ได้มีตำแหน่งตั้งพระหลวงขุนหมื่นด่านในหัวเมืองทั้งปวงตามซ้ายตามขวา ซึ่งให้กรมทหารมีอำนาจตั้งนายด่านได้นี้ ด้วยกรมทหารเปนผู้ไปจัดปราบปรามข้าศึกสัตรูได้พระราชอาณาเขตร์มาแล้ว ตั้งวางด่านทางไว้เปนการป้องกันเมื่อมีเหตุการอันใดมานายด่านนั้นจะได้แจ้งความมาถึงแม่ทัพ ได้รีบจัดการออกไปป้องกันพระราชอาณาเขตร์ได้โดยเร็ว แต่ครั้นเมื่อเลิกธรรมเนียมที่ให้กรมต่างๆตั้งตำแหน่งกรมการหัวเมืองเสีย อำนาจ