ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Kotmai Pracham Sok 65-1.djvu/132

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๕

(๓)ลาออก

(๔)ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(๕)สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้ออกจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สภา มติในข้อนี้ต้องมีเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดตาม (๔) ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด แต่การชี้ขาดของศาลฎีกาย่อมไม่กระทบกระทั่งการที่สมาชิกนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาก่อนที่มีการชี้ขาด”

มาตรา๖๒ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ หรือคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภา หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

ในกรณีที่มีการจับสมาชิกในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานสภาโดยด่วน และประธานสภาอาจสั่งปล่อยผู้ถูกจับให้พ้นจากการคุมขังได้”

มาตรา๖๓ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภา แต่กระนั้น การพิจารณาคดีก็ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาเข้าประชุมสภา

การพิจารณาที่ศาลได้กระทำไปก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิก ย่อมเป็นอันใช้ได้”

มาตรา๖๔ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกคุมขังระหว่างสอบสวน

๑๔