ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Kotmai Pracham Sok 65-1.djvu/133

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๖

หรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้องสั่งปล่อยทันที ถ้าหากสภาได้ร้องขอ

คำสั่งปล่อยตามความในวรรคก่อน ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อยจนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม”

มาตรา๖๗การตราพระราชบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา หรือลงโทษบุคคลหนักขึ้นกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำความผิด จะกระทำมิได้”

มาตรา๖๙การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ ต้องขออนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้

คำอนุมัติของสภาให้ทำเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องหรือรวมลงไว้ในพระราชบัญญัติโอนเงินในงบประมาณ หรือพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีถัดไป”

มาตรา๗๐ในกรณีพิเศษซึ่งสมควรจะมีแผนการณ์ต่อเนื่องกัน อันเป็นราชการแผ่นดินเกี่ยวกับสาธารณูปโภค และจำต้องจ่ายเงินแผ่นดินเป็นระยะเวลานานกว่าปีหนึ่ง จะตราพระราชบัญญัติขึ้นให้มีผลผูกมัดงบประมาณประจำปีก็ได้ แต่ระยะเวลาดั่งกล่าวต้องไม่เกินห้าปี”

มาตรา๗๒ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทานคืนมายังสภาผู้แทนราษฎร หรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในหกสิบวัน สภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้าสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิ