หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๕) a.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๗๖

เป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" ซึ่งได้แสดงความหมายของมาตรานี้โดยย่อ ๆ แล้วว่า พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งชาติและปวงชนทั้งปง และดำรงอยู่ในฐานะอันพึงพ้นจากความถูกติเตียนในทางใด ๆ เพราะฉะนั้น ในรัฐธรรมนูญของบ้านเมืองใดที่ปกครองโดยกษัตริย์และมีรัฐธรรมนูญ เขาก็วางหลักการไว้เช่นเดียวกันนี้ทุกแห่ง และในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น คำว่า (Sacred) ซึ่งท่านนักแปลคนหนึ่งได้แปลว่า เคารพ ก็ถูกอยู่ แต่ถ้าจะให้ถูกดีแล้ว ก็ควรมีคำว่า สักการะ ด้วย ซึ่งอนุกรรมการได้เห็นชอบด้วยแล้ว คำว่า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นี้ เราหมายความว่า ใครจะไปละเมิดฟ้องร้องว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าอาจจะมีใครสงสัยว่า ถ้าฟ้องร้องท่านไม่ได้แล้ว จะทำอย่างไรเมื่อมีใครได้รับความเสียหาย ประการหนึ่ง เราต้องนึกว่า ที่ว่า เป็นประมุข นั้น ตามแบบเรียกว่า "รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาตัดสินความในนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงหลักกฎหมายในบางประเทศแล้ว ฟ้องร้องท่านไม่ได้ทั้งทางอาชญาและประทุษฐ์ร้ายส่วนแพ่ง แต่มีว่า ถ้าท่านต้องทรงรับผิดชอบในเรื่องเงินแล้ว ก็ฟ้องร้องได้ทางพระคลังข้างที่ และที่เขียนมานี้ไม่กะทบกระเทือนสิทธิและความเสียหายของราษฎรใด ๆ เลย จึ่งขอเติมคำว่า "สักการะ" ต่อคำว่า "เคารพ"

นายสงวน ตุลารักษ์ ว่า ที่กล่าวว่า "พระองค์" แคบเกินไป อยาก