ขอตัดออก ครั้นแล้ว กล่าวว่า ความสำคัญในมาตรานี้ คิดว่า อยู่คำที่ว่า "พระราชกฤษฎีกา" คือว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาได้ แต่ว่า ในการยุบนี้ จะต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกา และพระราชกฤษฎีกานั้นก็ต้องนำผ่านคณะกรรมการราษฎร และการยุบสภานั้นก็มาจากคณะกรรมการราษฎรนั่นเอง
พระประพิณฯ กล่าวว่า ที่จะพูดต่อไปนี้ เพื่อถามความเข้าใจ เช่นว่า มีมาตราหนึ่งกล่าวว่า คณะกรรมการราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงเลือกเอาจากสมาชิกของสภา แล้วทรงตั้งขึ้น ทีนี้ว่า สั่งยุบ ก็สั่งด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการราษฎร สมมตว่า สมาชิกในสภาไม่มีขัดข้อง ในทางการก็เป็นการสะดวกดี แต่ถ้าเกิดเหตุซึ่งสภาเห็นว่า คณะกรรมการราษฎรยุ่ง ตั้งใจจะโว๊ตความไม่ไว้วางใจ ดั่งนี้ ก็อาจเป็นได้ว่า ทางหนึ่งสั่งยุบ ทางหนึ่งจะโว๊ตความไม่ไว้วางใจ จะทำอย่างไรเมื่อเกิดกะทบกันดั่งนี้ จึ่งขอซ้อมความเข้าใจในข้อนี้
ประธานอนุกรรมการราษฎรกล่าวว่า ความในข้อนี้เป็นข้อหนึ่งที่ฝั่งเขาชมรัฐธรรมนูญของเรามาก คือว่า เครื่องมือของสภาที่จะประหารคณะกรรมการราษฎร ก็คือ โว๊ตความไม่ไว้วางใจ ส่วนเครื่องมือของคณะกรรมการราษฎร ก็คือ อำนาจในการที่จะสั่งยุบสภา คือว่า จะทำอะไรตามชอบใจไม่ได้ การที่สั่งยุบสภานั้น ก็เพื่อเปิดโอกาส