หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/31

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๑

(๒) อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำ พวกที่ไม่มีเสียงอักษรสูงเป็นคู่กันมี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ พวกนี้ไม่มีเสียงอักษรสูงเป็นคู่กัน เข้าช่วยให้ผันได้ครบ ๕ เสียงอย่างอักษรคู่ จึงต้องมีวิธีใช้วรรณยุกต์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือใช้อักษรกลางหรืออักษรสูงนำ ถ้าอักษรกลางนำก็ผันอย่างเดียวกับอักษรกลาง ดังนี้

กงา (กะ–งา) กง่า กง้า กง๊า กง๋า, กรา (ก๎รา) กร่า กร้า กร๊า กร๋า วิธีนำนี้บางทีก็อ่านเป็น ๒ พยางค์ เช่น กงา อ่านว่า กะ–งา บางทีก็อ่านกล้ำเป็นพยางค์เดียว เช่น กรา อ่านว่า ก๎รา (จะอธิบายในวิธีประสมอักษรว่าด้วยอักษรนำอักษรควบ) แต่ถ้าตัว อ นำ ตัว ย ไม่ต้องอ่านออกเสียงตัว อ ดังนี้ อย่ฝา อย่า อย้า อย๊า อย๋า ออกเสียงด้วยตัว ย ตัวเดียว เป็นแต่ผันอักษรกลางเท่านั้น (อ นำ ย เดี๋ยวนี้มีใช้อยู่โดยมาก ๔ คำเท่านั้น คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก) ถ้าอักษรสูงนำก็อ่านเสียงอักษรสูงดังนี้ ขงา (ขะ–หงา) ขง่า, ขง้า, ขรา (ข๎รา) ขร่า ขร้า แต่ถ้าตัว ห นำ ไม่ต้องออกเสียงตัว ห ออกเสียงอักษรเดี่ยวที่ตามหลังเป็นเสียงจัตวา และผันอย่างอักษรสูง ดังนี้ หงา, หง่า, หง้า

ด้วยวิธีนำเช่นนี้ อักษรเดี่ยวจึงผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง ดังนี้

อยา อย่า อย้า อย๊า อย๋า, งา หง่า ง่า
หง่า
ง้า หงา

จงสังเกตุไว้ว่า อักษรกลางหรือสูง จะนำและผันให้เสียงเป็นอักษรกลางหรือสูงได้ก็แต่อักษรเดียวพวกเดี่ยว ตัวอื่นถึงจะมีนำบ้างตามภาษาเดิม ก็ไม่ออกเสียงเป็นอักษรนำ เช่น ไผท ต้องอ่าน ผะ–ไท ไม่ใช่ ผะ–ไถ เป็นต้น