หน้า:อธิบายเรื่องธงไทย - ดำรง - ๒๔๗๖.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๘

อย่างรัชชกาลที่ ๔ และให้เรียกนามว่า “ธงไอยราพต”

ถึงรัชชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงสถาปนาธงแผ่นดินเพิ่มขึ้นใหม่อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า

ธงมหาไพชยนต์ธวัช พื้นนอกสีแดง พื้นในสีดำ กลางมีพานแว่นฟ้าสองชั้นรองวชิราวุธ มีฉัตร ๕ ชั้นสองข้าง เหตุที่สร้างธงนี้ ทรงพระราชปรารภว่า รูปครุฑสัมฤทธิ์หุ้มทองของโบราณที่ขุดได้ณตำบลโคกพระในดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจิณบุรี ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมุรพงศศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจิณ ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อเสด็จถึงเมืองปราจิณในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ นั้น เป็นโบราณวัตถุซึ่งสันนิษฐานว่า จะเป็นยอดธงสำหรับนำทัพของพระราชาธิบดีในสมัยโบราณ การที่มีผู้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ก็นับว่าเป็นสิ่งประกอบด้วยสวัสดิมงคล และธงจุฑาธุชธิปตัยอันเป็นธงสำคัญ