หน้า:อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

2. เด็กที่บิดามารดาอาศัยอยู่ต่างรัฐกันกับเด็ก จะมีสิทธิที่จะรักษาความสัมพันธ์ส่วนตัว และการติดต่อโดยตรงกับทั้งบิดาและมารดาได้อย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่ในสภาพการณ์พิเศษ เพื่อการนี้และตามพันธกรณีของรัฐภาคีภายใต้ข้อ 9 วรรค 1 รัฐภาคีจะเคารพต่อสิทธิของเด็ก และบิดามารดาของเด็กในอันที่จะเดินทางออกนอกประเทศใดๆ รวมทั้งประเทศของตน และสิทธิที่จะเดินทางเข้าประเทศของตน สิทธิที่จะเดินทางออกนอกประเทศใดๆ จะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดดังที่กำหนดไว้โดยกฎหมายเท่านั้น และซึ่งจำเป็นสาหรับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อย สาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และสอดคล้องกับสิทธิอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับในอนุสัญญานี้

ข้อ 11

1. รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะหยุดยั้งการโยกย้ายเด็ก และการไม่ส่งเด็กกลับคืนจากต่างประเทศที่มิชอบด้วยกฎหมาย

2. เพื่อการนี้ รัฐภาคีจะส่งเสริมให้มีการจัดทาความตกลงทวิภาคี หรือพหุภาคี หรือการภาคยานุวัติความตกลงที่มีอยู่

ข้อ 12

1. รัฐภาคีจะประกันแก่เด็กที่สามารถมีความคิดเห็นเป็นของตนได้แล้ว ซึ่งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นโดยเสรี ในทุกๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก ทั้งนี้ ความคิดเห็นดังกล่าวของเด็กจะได้รับการพิจารณาตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็กนั้น

2. เพื่อความมุ่งประสงค์นี้ เด็กจะได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกาสที่จะมีสิทธิ มีเสียงในกระบวนการพิจารณาทางตุลาการ และทางปกครองใดๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยผ่านผู้แทน หรือองค์กรที่เหมาะสม ในลักษณะที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎหมายภายใน

ข้อ 13

1. เด็กจะมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับ หรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และความคิดทุกลักษณะ โดยไม่ถูกจำกัดโดยเขตแดน ไม่ว่าจะโดยวาจา ลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่อใดตามที่เด็กเลือก

2. การใช้สิทธิดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ต้องเป็นข้อจำกัดเช่นที่บัญญัติตามกฎหมาย และเช่นที่จำเป็นเท่านั้น

ก) เพื่อการเคารพต่อสิทธิ และชื่อเสียงของบุคคลอื่น หรือ

ข) เพื่อการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน