เรื่องตำนานเมืองพิษณุโลกตอนก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยานั้นมีหลักฐานปรากฏว่า เมืองพิษณุโลกนี้พวกขอมสร้าง แต่ในชั้นเดิมจะเรียกว่าเมืองอะไรหาทราบไม่ ปรากฏหลักฐานแต่ว่า เมืองเดิมอยู่ริมน้ำข้างฝั่งตะวันออกที่ตรงวัดจุฬามุณีใต้เมืองเดี๋ยวนี้ลงไปทางลำนำประมาณ ๘ กิโลเมตร เพราะยังมีเทวสถานของขอมซึ่งแก้ไขแปลงเป็นพระปรางค์วัดจุฬามุณีปรากฏอยู่เป็นสำคัญ แต่เทวสถานเป็นปรางค์ขนาดย่อมยอดเดียว ส่อให้เห็นว่า เมืองพิษณุโลกเมื่อครั้งขอมเป็นแต่เมืองน้อย คงเป็นเพราะในสมัยนั้นที่แผ่นดินยังลุ่มเป็นทะเลอยู่มาก ตรงที่สร้างเมืองเห็นจะเป็นชายทะเลทางข้างตะวันออก ต่อมาถึงสมัยเมื่อไทยลงมาเป็นใหญ่ในสยามประเทศ เห็นจะย้ายเมืองขึ้นไปตั้งตรงที่เมืองเดี๋ยวนี้ จึงเรียกชื่อในภาษาไทยว่า "เมืองสองแคว" เพราะตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำน่านกับลำน้ำน้อยซึ่งในสมัยนั้นสายน้ำยังไหลทางด้านหลังเมืองไม่ห่างนัก เมืองสองแควนในตอนแรกก็เห็นจะเป็นแต่เมืองน้อย ในจารึกของพระเจ้ารามคำแหงจึงเป็นแต่บอกชื่อไว้ในเหล่าหัวเมืองขึ้นของพระนครสุโขทัยซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ไม่กล่าวถึงสิ่งสำคัญอันใดว่า มีในเมืองเหมือนอย่างที่
หน้า:เรื่องเมืองพิษณุโลก - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๖.djvu/18
หน้าตา