อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยกับเชียงใหม่มาปรุงผสมกัน สมดังความที่กล่าวในพงศาวดารเหนือ จึงงามหาที่เปรียบมิได้ แต่พระศาสดานั้นลักษณะต่างไป สงสัยว่า จะหล่อมาต่อชั้นหลัง มิใช่ฝีมือช่างเดียวกัน ถึงในจดหมายเหตุเก่าซึ่งกล่าวถึงสมเด็จพระราชาธิบดีครั้งกรุงศรีอยุธยาเสด็จขึ้นไปสมโภชก็ออกพระนามแต่พระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์ หาได้กล่าวถึงพระศาสดาไม่ แต่พระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์นั้นประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุเมืองพิษณุโลกด้วยกันมาตลอดเวลากว่า ๔๐๐ ปี จนถึงรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ จะเป็นปีใดไม่ปรากฏ วิหารพระศาสดาหักพัง จึงมีผู้เชิญพระศาสดาลงมากรุงเทพฯ เดิมไว้ที่วัดบางอ้อช้าง แขวงจังหวัดนนทบุรี ถึงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เมื่อยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ เชิญไปไว้วัดประดู่ แขวงจังหวัดธนบุรี ครั้นรัชกาลที่ ๔ โปรดให้เชิญมาไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ต่อมา ทรงสร้างพระวิหารที่วัดบวรนิเวศ แล้วโปรดให้เชิญพระศาสดาไปประดิษฐานไว้ในวิหารนั้นสืบต่อมาจนบัดนี้ พระพุทธชินสีห์อยู่ที่วัดมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก จนรัชกาลที่ ๓
หน้า:เรื่องเมืองพิษณุโลก - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๖.djvu/41
หน้าตา