ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/140

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๖๗ 

คร่าวๆ ดัง ต่อไปนี้

ค่าเช่าและดอกเบี้ย

๑) ค่าเช่า หลักฐานการขูดรีดค่าเช่าของเจ้าที่ดินในสมัยศักดินาแต่โบราณไม่มีตกทอดมาถึงปัจจุบันเป็นล่ำเป็นสันนัก เราจึงรู้ได้ยากว่าได้มีการวางกำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินกันอย่างไร แต่ตามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ระเบียบการเช่าที่นามักเก็บค่าเช่าประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของผลที่ได้ แม้จนในสมัยหลังๆ และแม้ในปัจจุบันก็ปฏิบัติกันอยู่ดาษดื่น ที่นาไร่หนึ่ง นาอย่างดีที่สุดจะได้ผลระหว่าง ๓๐-๔๐ ถัง ผลได้นี้ต้องส่งเป็นค่าเช่าเสียประมาณ ๑๐ ถัง อย่างกรุณาก็ ๖ ถัง แม้ในพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๓ ก็ยังได้กำหนดอัตราค่าเช่าไว้ดังนี้ :

(๑) นาที่ได้ข้าวเปลือกปี หนึ่งไร่ละ ๔๐ ถังขึ้นไป เก็บไม่เกินไร่ละ ๑๐ ถัง

(๒) นาที่ได้ข้าวเปลือกปี หนึ่งไร่ละ ๓๐ ถังขึ้นไป เก็บไม่เกินไร่ละ ๖ ถัง

(๓) นาที่ได้ข้าวเปลือกปี หนึ่งไร่ละ ๒๐ ถังขึ้นไป เก็บไม่เกินไร่ละ ๓ ถัง

(๔) นาที่ได้ข้าวเปลือกปี หนึ่งไร่ละไม่ถึง ๒๐ ถัง เก็บไม่เกินไร่ละ ๑ ถัง

ซึ่งอัตรานี้ เป็นอัตราค่าเช่านาในยุคทุนนิยมที่ชนชั้นศักดินาอ่อนกำลังลงไปแล้วด้วยซ้ำ

แต่อัตราการเช่าที่แพร่หลายที่สุดที่ใช้กันอยู่ทั่วไปก็คืออัตราค่าเช่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของผลที่ได้ นั่นคือ "การทำนาแบ่งครึ่ง" ซึ่งเป็นระบบการเช่าที่แพร่หลายใช้กันทั่วไปในประเทศศักดินาอื่นๆ