ไปได้ทันที เจ้าของนาจะทำเช่นนั้นไม่ได้ก็ต่อเมื่อผู้เช่าได้ชำระเงินล่วงหน้าแล้วเท่านั้น (เบ็ดเสร็จเพิ่มเติม บทที่ ๖)
อย่างไรก็ดี ฐานะของชาวนาเช่าที่ในสมัยศักดินาเป็นฐานะที่เสี่ยงต่อการหมดตัว ลูมละลายขายตัวเป็นทาสอยตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับในสมัยปัจจุบัน ที่สังคมยังมีลักษณะกึ่งศักดินาคือชาวนาต้องเสี่ยงต่อการล้มละลายกลายเป็นทาส กรรมกรวิ่งเขูามาขายแรงงานในกรุงอยู่ร้่าไป
๒) ดอกเบี้ย การที่ชาวนาต้องประสบกับการขูดรีดอย่างหนักหน่วงทำให้แทบทุกครัวเรือนต้องกู้หนี้ยืมสิน แม้ในปัจจุบันชาวบ้านก็ยังคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น ในตอนปลายระบบศักดินา หรือนัยหนึ่งตอนปลายของยุคที่ศักดินามีอำนาจทางการเมือง ได้มีผู้สำรวจหนี้สินของชาวนาไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓-๗๕ ปรากฏว่าชาวนามีหนี้สินเฉลี่ยแล้วดังนี้
ภาคกลาง มีหนี้สินครอบครัวละ ๑๙๐ บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหนี้สินครอบครัวละ ๑๔ บาท
ภาคเหนือ มีหนี้สินครอบครัวละ ๓๐ บาท
ภาคใต้ มีหนี้สินครอบครัวละ ๑๐ บาท
อัตราดอกเบี้ยที่กสิกรไทยในยุคศักดินาต้องเสียให้แก่นายเงินในระยะ พ.ศ. ๒๔๗๓-๗๕ มีดังนี้
ภาคกลาง ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างต่ำ ๔% อย่างสูง ๑๒๐%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างต่ำ ๑๓% อย่างสูง ๕๐%
ภาคเหนือ ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างต่ำ ๒% อย่างสูง ๓๘%
ภาคใต้ ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างต่ำ ๑๒% อย่างสูง ๒๔๐%
จำนวนของกสิกรที่ต้องเป็นหนี้คิดเฉลี่ยแล้วดังนี้