ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/144

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๗๑ 

นี้ยังคงเป็นกฏหมายอยู่ เจ้าหนี้ก็ยังมิได้ปฏิบัติตาม และเรียกเอาอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราซึ่งกำหนดไว้ตามกฏหมายเนืองๆ...เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงนี้เอง ลูกหนี้ซึ่งไม่ชำระดอกเบี้ยตามระยะเวลา จึงตกอยู่ในภาวะอันหนักของดอกเบี้ยที่ทบทวีขึ้นโดยรวดเร็ว จำนวนเงินค้างชำระเพิ่มขึ้นจนลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ และหมดหนทางที่จะรอดตัวได้ นอกจากยอมตัวลงเป็นทาส"๙๒

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ปีแรกที่ได้ขึ้นเสวยราชย์ได้ออกกฏหมายเพื่อแสดงความปรารถนาจะช่วยลูกหนี้ทาสขึ้นฉบับหนึ่ง (ประกาศเมื่อวันพุธ เดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๑) แต่ก็เป็นกฏหมายประหลาดกล่าวคือทีแรกก็ช่วยลูกหนี้ทาสโดยให้ชำระเพียงเงินต้นเท่านั้น ดอกเบี้ยไม่ต้องชำระต่อไป แต่ดอกเบี้ยค้างชำระไว้กี่ปี ๆ ต้องชำระด้วย และยังระบุว่า ถ้าหากลูกหนี้ทาสไม่มีเงินชำระดอกเบี้ยที่ค้างนั้น ให้นายเงินเฆี่ยนลูกหนี้ได้แทนดอกเบี้ยในอัตรา ๓ ทีต่อ ๑ ตำลึง! นั่นเป็นลักษณะของโทษทางอาญาโดยตรง!

"ดอกเบี้ยร้อยละ ๓๗.๕๐ ต่อเดือนนั้น จะได้ใช้กันตามกฏหมายมานานเพียงใดไม่ปรากฏ แต่เท่าที่พบหลักฐาน การกู้เงินอย่างเปิดเผยได้ลดดอกเบี้ยลงมามากในรัชกาลที่ ๔ ลดลงมาเหลือร้อยละ ๑๕ ต่อปี๙๓ และได้ลดลงมาเรื่อยๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นชั่งละบาท แต่พวกนายเงินก็มักโกงขึ้นเป็นชั่งละ ๕ บาทอยู่เสมอ" (ร. แลงกาต์)

อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยและค่าเช่าจะมีอัตราสูงหรือต่ำเพียงใดก็ตาม โดยลักษณะของมันแล้ว มันก็คือระบบการขูดรีดหลักของชนชั้นศักดินาทั้งมวลที่กระทำต่อไพร่ในยุคนั้นนั่นเอง โดยเฉพาะดอกเบี้ยนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญของชนชั้นเจ้าที่ดินที่จะอ้างเพื่อยึดทรัพย์