ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:BKK Rec vol 1b.pdf/141

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
138.
Vol. 1
The Bangkok Recorder.

ติศเทศนั้น, มากน้อยตามคนที่มากแลน้อยเท่าใด. ในทุกหัวเมืองนั้น, ครั้นเมื่อจะใคร่รู้ว่า, หัวเมืองได ๆ, ควรที่จะตั้งเร็บรีเซ็นเตติฟขึ้นขี่คน, แลจะต้องเก็บภาษีสำหรับใช้ในเมืองยูในติศเทศมากน้อยเท่าไดจึ่งจะควร, ก็ต้องนับผู้ชายทั่วไปทั้งเมือง, ตั้งแต่อายุ ๒๑ ปีขึ้นไป, กับคนทั้งปวงที่เปนผู้รับไช้ในรว่างหลายปี, เว้นแต่ชาวป่าทั้งหลายที่ไม่ได้ต้องเสียค่าสร่วยแลอากรนั้น. แลชายทั้งปวงนอกนั้น, (คือ พวกทาษทั้งหลาย,) แบ่งออกเปนห้าสว่น, ที่นับเข้านั้น ๓ สว่น, ที่มิได้นับนั้น ๒ สว่น. การที่นับผู้ชายทั้งหลายนั้น, ต้องให้แล้วในรว่างสามปี, ตั้งแต่คอนเคร็ศแห่งเมืองยูในติศเทศ, เมื่อจะประชุมกันหนแรกนั้น. การนับคนนั้น, เมื่อครบ ๑๐ ปีแล้ว, ได้นับทีหนึ่ง, เปนการนับต่อ ๆ ไป, ตามอย่างเมืองยูในติศเทศ, จะมีกฎหมายให้ทำ. แต่ผู้ชายนั้นนับได้ ๓๐๐๐๐ คนนั้น แลจะยอมให้มีผู้เร็บรีเซ็นเตติฟแต่คนหนึ่งเท่านั้น. หัวเมืองทั้งปวง ถึงจะนับผู้ชายได้น้อย, แต่จะต้องมีเร็บรีเซ็นเตติฟคนหนึ่ง. เมื่อแรกยังมีได้นับผู้ชาย, ต้องจัดให้หัวเมืองนิวแฮมซเรียมีเร็บรีเซ็นเตติฟ ๓ คน.

ข้อที่สี่. เมื่อคนขาดในจำนวรเร็บรีเซ็นเตติฟ, ที่หัวเมืองใด ๆ, ฝ่ายเจ้าเมืองยูในติศเทศต้องรับสั่ง, ให้เมืองนั้นเลือกคนตั้งขึ้น, เปนเร๊บรีเซ็นเตติฟแทนคนที่ขาดนั้น.

ข้อที่ห้า. พวกเร็บรีเซ็นเตติฟนั้น, จะต้องเลือกมาจากในจำพวกของตนคนหนึ่ง, ตั้งไว้สำหรับเปนคนใหญ่ว่ากล่าวไนข้อราชการ. แลจะได้เลือกตั้งเจ้าพนักงานอื่นต่าง ๆ, ที่จะต้องการในที่ประชุมกันนั้น. ฝ่ายพวกเร็บรีเซ็นเตติฟนั้น, แต่พวกเดียวได้มีอำนาถ, ที่จะฟอ้งหากล่าวโทษแก่คนใดคนหนึ่ง, ที่เปนผู้ว่าราชการในเมืองหลวงได้.

๏ ส่วนที่สาม

ข้อที่หนึ่ง. พวกที่เรียกว่า เซนเอด แห่งเมืองยูในติษเทศนั้น, เปนคนที่ลีชิศเลเชอ, (คือ ขุนนางพวกหนึ่งที่เปนพนักงาน, ทำกดหมายสำรับหัวเมืองนั้น,) ได้เลือกตั้งขึ้นเปนเซนเนตอร์, เมืองละสองคน ให้เปนขุนนางว่าราชการในที่เมืองหลวงครบ ๖ ปี. พวกเซเนตอร์จะมีโวดคนละโวดเดียว. (เคือ เมื่อจะใคร่รู้ว่า การใด ๆ นั้นเขาจะชอบหฤๅมิชอบมีสักคี่คน, เมื่อจะนับเซนเนตอร์นั้น ต้องนับทุกคน ๆ ว่าเปนคนหนึ่ง ๆ. อย่าให้นับซ้ำเปนสองได้.)

ข้อที่สอง. เมื่อเดิมที่พวกเซนเนตอร์จะประชุมกันนั้น, เขาต้องแบ่งออกเปนสามส่วนเท่า ๆ กัน, นับเปนพวกที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม. แต่พวกหนึ่งนั้น เมื่อครบสองปีแล้ว, จะเปลยี่นเซนเนตอร์ในพวกที่หนึ่งนั้น ตั้งผู้อื่นแทน. ครั้นครบ ๔ ปีแล้ว จะเปลี่ยนพวกที่สองเหมือนกัน. ครั้นถึงหกปีแล้ว, ต้องเปลี่ยนพวกที่สามด้วย. เพราะเหตุนี้ ทุกหัวเมืองต้องเลือกเซนเนตอร์สองปีเลือกที่หนึ่ง, เสมอมาดังนั้น. ถ้าแม้นเซนเนตอร์ผู้ใดผู้หนึ่ง, ได้ออกนอกราชการเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ดี, แลพวกลีชิศเลเชอได้เลีกไปแล้ว, ฝ่ายเจ้าเมืองจะตั้งคนให้เปนเซ๊นเนตอร์แทนเซนเนตอร์ที่นอกราชการนั้นก็ได้, กว่าลีชิศเลเชอจะประชุมกันใหม่. เมื่อจะประชุมใหม่นั้น, ลิชิดเลเชอจะเลือกตั้งเซนเนตอร์ได้ตามชอบใจ.

ข้อที่ ๓. ห้ามว่ามิให้ผู้ใด ๆ เปนเซ๊นเนตอร์, ถ้ามิได้มีอายุถึง ๓๐ ปี, แลที่มิได้เปนชาวหัวเมืองอยู่ในติษเตศครบ ๙ ปีแล้ว, แลผู้ที่เมื่อขณะเขาเลือกนั้นหาได้เปนชาวหัวเมืองนั้นไม่, แต่เปนคนต่างเมือง.

ข้อที่ ๔. ผู้ที่เปนไวซีเปรศซิเดนต์แห่งเมืองยูในติษเตศ, จะเปนผู้ใหญ่เหนือพวกเซ๊นเอด. แต่เมื่อพวกเซ๊นเนต, หมายการใด ๆ จะนับดูว่า พวกเซ๊นเนต, เหนชอบด้วยและไม่เหนชอบด้วยขี่คนนั้น, ห้ามอย่าให้ไวซิเปรศซิเดนต์เข้าในที่นับกันเลย, เว้นไว้แต่พวกเซ๊นเนต, ทืั้งสองจะนับเปนเท่ากะน ถ้าเปนอย่างนั้น จะให้ไวซีเปรศซิเดนต์, เข้าฝ่ายข่้างหนึ่งตามที่จะเหนเ้วย, และจะนับตัวท่านว่าเปนคนหนึ่งในฝ่ายนั้นก็ได้.