หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
19
ประเทศ[1] ครั้นถึงกรุงพนมเปญแล้ว เจ้าคุณทรงฯ ได้มีจดหมายมาถึงประธานสภาฯ แจ้งให้ทราบว่า ขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท ๒ เจ้าคุณทรงฯ อยู่ที่เมืองเขมรได้ไม่นาน ทางตำรวจเขมรก็ไม่ยอมให้อยู่ ได้ขอให้ท่านเดินทางไปอยู่ไซ่ง่อนที่เวียตนามแทน และเจ้าคุณทรงฯ ก็อยู่ที่ไซ่ง่อนตลอดมา โดยต้องขายของเก่าของตนและของภรรยาที่มีอยู่ออกไปเพื่อจะได้มีเงินมาใช้สอย แต่ท่านก็ไม่มีของเก่าพอที่จะขายได้มากมายนัก ต่อมาเจ้าคุณทรงฯ กับครอบครัวได้รับอนุญาตให้กลับมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ ที่เมืองเขมรใน
- ↑ การที่ขับไล่ให้เจ้าคุณทรงฯ ออกนอกประเทศครั้งนี้อาจเนื่องมาจากหลวงพิบูลฯ กับเจ้าคุณทรงฯ มีความคิดขัดกัน และในตอนนั้นบุคคลที่มีทีท่าและความสามารถที่จะทาบรัศมีหลวงพิบูลฯ เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็มีเพียงเจ้าคุณทรงฯ คนเดียวเท่านั้น หนังสือพิมพ์ชื่อ “ชุมชน” ซึ่ง ร.ท. ณ เณร ตาละลักษณ์ เป็นบรรณาธิการ ได้เคยลงภาพทั้งหลวงพิบูลฯ ว่า เป็นผู้ที่อาจได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อมีการจับกบฏปี ๒๔๘๑ ก็มีการกล่าวกันว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร คิดจะล้มล้างรัฐบาล และอัญเชิญพระปกเกล้าขึ้นเป็นกษัตริย์ เชิญพระยาทรงฯ เป็นนายกรัฐมนตรี
ดูรายละเอียดใน อ้างแล้ว พายัพ โรจนวิภาต หน้า ๑๑๖, ๑๒๐