ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/70

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
60
[ปี 6
ระบอบจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญในญี่ปุ่น

ในกรณีที่มีพระราชบัญชาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้เลื่อนประชุมสภาขุนนางไปพร้อมกัน

มาตรา45เมื่อมีพระราชบัญชาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชบัญชาเป็นอันยังผลให้เกิดการเลือกตั้งสมาชิกใหม่ และให้เรียกประชุมสภาชุดใหม่ภายในห้าเดือนตั้งแต่วันที่ถูกยุบ

มาตรา46มิให้เปิดอภิปรายและมิให้ออกเสียงลงคะแนนในสภาหนึ่งสภาใดของสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ เว้นแต่มีสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดแห่งสภานั้น ๆ มาประชุม

มาตรา47การออกเสียงลงคะแนนในสภาทั้งสองให้ถือตามเสียงข้างมากเด็ดขาด ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงชี้ขาด

มาตรา48การพิจารณาปรึกษาของสภาทั้งสองนั้น ให้ดำเนินการโดยเปิดเผย ทว่า การพิจารณาปรึกษาจะดำเนินการในที่ประชุมลับก็ได้ เมื่อมีคำเรียกร้องของรัฐบาลหรือมีมติของสภา

มาตรา49แต่ละสภาในสภาทั้งสองของสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิจะมีคำกราบบังคมทูลต่อจักรพรรดิก็ได้

มาตรา50สภาทั้งสองจะรับฎีกาที่พสกนิกรเสนอมาก็ได้

มาตรา51สภาทั้งสองจะตราระเบียบที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการกิจการภายในของตน นอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมรูญและในกฎหมายสภาก็ได้

มาตรา52สำหรับความคิดเห็นใด ๆ ที่ได้กล่าวหรือการออกเสียงลงคะแนนใด ๆ ที่ได้กระทำในสภา มิให้สมาชิกสภาใดถูกจัดให้รับผิดชอบในเรื่องนั้นภายนอกสภาของตน กระนั้น เมื่อสมาชิกผู้นั้นเองเผยแพร่ความคิดเห็นของตนด้วยคำกล่าวสาธารณะ ด้วยเอกสารที่พิมพ์หรือเขียน หรือด้วยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน ให้สมาชิกผู้นั้นมีความรับผิดชอบต่อเรื่องนั้นตามกฎหมายทั่วไป

มาตรา53ในระหว่างสมัยประชุม ให้สมาชิกสภาทั้งสองพ้นจากการถูกจับกุมโดยปราศจากความยินยอมของสภา เว้นแต่ในกรณีความผิดซึ่งหน้า หรือความผิดอันเกี่ยวโยงกับสภาพความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือความเดือดร้อนในต่างประเทศ

มาตรา54รัฐมนตรีก็ดี และผู้แทนรัฐบาลก็ดี จะเข้านั่งประชุมและกล่าวในสภาใด ณ เวลาใดก็ได้

มาตรา55ให้รัฐมนตรีแต่ละคนถวายคำแนะนำต่อจักรพรรดิ และรับผิดชอบในคำแนะนำนั้น

บรรดากฎหมาย พระราชกำหนด และพระราชหัตถเลขา ไม่ว่า

(380)